วิธีการการย้อมสีธรรมชาติ

โดยทั่วไปวิธีการย้อมสีธรรมชาติ มี 3 วิธี คือ

  1. การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing)
  2. การย้อมแบบแวต หรือการก่อหม้อย้อม (Vat Dyeing) และ 3. การย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant Dyeing) แต่ในที่นี้จะนำเสนอการย้อม 2 แบบ คือ การย้อมโดยตรง และการย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี ซึ่งเป็นธรรมชาติของการย้อมสีของคนบนพื้นที่สูงอย่างกลุ่มปกาเกอะญอและเลอเวีอะ

4.1 การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) : วัสดุให้สีจากรรมชาติบางชนิด มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกับเส้นใยได้ดีโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยติดสี ด้งนั้นจึงสามารถย้อมได้โดยกระบวนการ “ย้อมตรง ” ซึ่งสามารถย้อมได้ทั้งการ “ย้อมเย็น” คือการย้อมในน้ำสีที่สกัดไว้แล้วที่อุณหภูมิห้อง แต่ปกติเส้นใยจะดูดชับและติดสีได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 8 องศาเชลเชียส ซึ่งเรียกกว่าการ “ย้อมร้อน” ฉะนั้นสำหรับการย้อมสีที่ไม่ใช้สารช่วยติดสี แนะนำให้ย้อมด้วยกระบวนการย้อมร้อน โดยมีเทคนิควิธี ดังนี้

  1. นำน้ำสีที่สกัดไว้และกรองเรียบร้อยแล้วใส่หมอสแตนเลสหรืออลูมิเนียมขึ้นตั้งไฟ จนมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 65-80 องศาเซลเชียส ความร้อนจะช่วยให้เส้นด้ายพองตัว ทำให้เม็ดสีเคลื่อนที่เข้าไปในเส้นด้ายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น (การให้ความร้อนไม่จำเป็นต้องต้มจนน้ำสีเดือดก็ได้ เพราะอาจสิ้นเปลืองพลังาน และยังมีปัญหาจากการที่น้ำในหม้อระเหยน้ำแห้งจนต้องหมั่นเติมน้ำกลับลงไป ทำให้สีในน้ำย้อมมีความเข้มข้นไม่คงที่)
  2. นำเส้นด้ายฝ้ายในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำสี ใส่ในห่วงย้อมผ้า (1คู่) แล้วแซ่เส้นใยฝ้ายในน้ำสี ให้น้ำท่วมเส้นด้าย แช่ไว้ประมาณ 10 นาที
  3. ยกห่วงคล้องเส้นดยขึ้น ให้เส้นด้ายส่วนหนึ่งยังแช่ในน้ำสี โยกขยับเส้นด้ายส่วนที่อยู่ในน้ำสีขึ้นมาสัมผัสอากาศ และขยับอีกส่วนลงไปแซ่ในน้ำสี ทำเช่นนี้วน ๆ ไป สลับกับการพลิกกลับเส้นด้ายที่อยู่ด้านในออกมาด้านนอก เพื่อให้ส่วนต่าง ๆ ของเส้นด้ายได้ดูดชับเม็ดสีเข้าไปอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ การโยกเส้นดยขึ้นลงจะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีตกตะกอนนอนอยู่กันหม้อ ทำเช่นนี้ประมาณ 10 นาที แล้วแช่เส้นด้ายลงในน้ำสีทิ้งไว้อีกประมาณ10 นาที ทำสลับกับการโยกเส้นด้ายขึ้นลงในน้ำสี รอบละ 10 นาที หากไม่มีห่วงย้อมผ้า ให้ใช้ไม้พายคนและยกเส้นด้ายขึ้นลงกลับไปกลับมาเพื่อให้เม็ดสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายอย่างทั่วถึง หมั่นคนเพื่อไม่ให้สีตกตะกอนเพราะจะทำให้สีติดเส้นดยไสเสมอ สลับกับการแซ่เส้นด้ายไว้เฉย ๆ รอบละประมาณ 10 นาทีเช่นกัน
  4. ทำขั้นตอนที่ 3 สลับกันไปจนครบ 60-90 นาที หรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสี หรือได้เฉดสีที่พอใจ และมีสีสันสม่ำเสมอทั่วกัน
  5. บิดเส้นด้ายพอหมาด ๆ แล้วนำขึ้นตากในร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก โดยการคล้องในราวตาก และคอยขยับหมุนเส้นด้ายไม่ให้น้ำสีไหลมากองรวม ณ จุดเดียว เพราะจะทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ขยับจนเส้นต้ายแห้งหมาด ๆ จากนั้นจึงตากเส้นด้ายทิ้งไว้จนแห้งสนิท
  6. นำเส้นด้ายฝ้ายที่ทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วไปลงในน้ำสะอาดจนสีหลุดออกน้อยที่สุด บิดพอหมาดแล้วตากในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวกจนแห้งสนิท
  7. เก็บเส้นด้ายในที่ปลอดแสและอากาศถ่ายเทสะดวกไม่อับขึ้น ก่อนนำเส้นด้ายไปใช้งานต่อไป

4.2 การย้อมโดยใช้สารช่วยย้อม (Mordant dyeing) การย้อมด้วยวิธีนี้เป็นการย้อมแบบใช้สารช่วยสีติดหรือสารช่วยย้อมเคมีหรือมอร์แดนท์ สารจะทำหน้ที่ช่วยให้การยึดติดเส้นใยกับสีย้อมได้ดีขึ้น มอร์แดนท์ที่ใช้ ได้แก่ สารละลายขอเกลือโลหะ เช่น สารส้ม (มอร์แดนท์อลูมิเนียม) เฟอรัสซัลเฟต (มอร์แดนท์เหล็ก) ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมี “สารช่วยย้อมธรรมชาติ” (มอร์แดนท์ธรรมชาติ) เช่น น้ำปูนใส น้ำขี้เถ้า น้ำบ่อบาดาล หรือน้ำสนิมเหล็ก น้ำโคลน น้ำมะขามเปียก น้ำส้มป่อย เป็นต้น ที่หาได้ไม่ยากจากธรรมชาตินอกจากสารช่วยย้อมแล้ว ยังมี “สารช่วยให้สีติด” เพื่อช่วยให้สีติดเส้นด้าย โดยสารดังกล่าวจะใช้ย้อมเส้นด้ายก่อนการย้อมสี หรือใช้ผสมในน้ำสีย้อม ประกอบด้วย

  1. สารฝาด หรือ แทนนิน สารแทนนินจะมีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชที่มีรสฝาดและขม เช่น ลูกหมาก เปลือกเพกาเปลือกสีเสียด เปลือกประดู่ ใบยูคาลิปตัส เป็นต้น น้ำมาใช้โดยการต้มสกัดน้ำฝาด หรือแทนนินจากพืชดังกล่าวแล้วนำเส้นดยต้มย้อมกับน้ำฝาดก่อน จากนั้นจึงนำเส้นด้ายไปย้อมกับน้ำสีอีกครั้ง
  2. โปรตีนจากน้ำถั่วเหลือง ใช้ต้มกับเส้นด้ายก่อนการย้อมสีีเพื่อช่วยในการเพิ่มโปรตีนบนเส้นด้าย
    ทำให้สามารถย้อมสีติดได้ดีมากขึ้นโดยแช่ด้ายฝ้ายกับน้ำถั่วเหลือง 1 คืนก่อนนำไปย้อม ยิ่งทำให้สีติดมากขึ้นเกลือแกง จะใช้ผสมกับน้ำสีย้อมเพื่อช่วยให้สีติดเส้นด้ายได้ง่ายขึ้น

การเตรียมสารช่วยย้อม

สารช่วยย้อมธรรมชาติ หรือ มอร์แดนท์ธรรมชาติ

  1. น้ำโคลน : นำโคลนที่มีคุณสมบัติที่ดี ต้องเป็นโคลนใต้สระหรือบ่อที่มีน้ำขังตลอดปี หรือบนดอยจะมีโคลนที่เรียกว่า “ขี้เครื่องบิน” ผิวหน้าโคลนจะขึ้นสีเหลือ ตักมาใส่ในถัง โคลน 1 ส่วน ผสมน้ำ 1 ส่วนคนให้เข้ากัน แล้วทิ้งให้ตกตะกอน 1 คืน ตักเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้”
  2. น้ำขี้เถ้า : นำขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติดี (ไม้ชนิดต่าง ๆ จะให้ขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน) ต้องมีการเผาไหม้สมบูรณ์เป็นเถ้าสีขาวสีเทา นำขี้เถ้าใส่ในถัง เติมน้ำสะอาดให้ท่วมหรือตามปริมาณที่ต้องการกวนให้เข้ากัน แล้วทิ้งให้ตกตะกอน 1 คืน (หรือเจาะก้นถัง แล้วเทให้น้ำหยด) เอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้
  3. น้ำปูนใส : ได้จากปูนขาวที่ใช้กินกับหมาก หรือปูนขาวจากการเผาเปลือกหอย ฯลฯ โดยละลายปูนขาวในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ตักหรือกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้
  4. น้ำสนิมเหล็ก : นำเหล็กที่ขึ้นสนิม หรือผาตะเหล็ก/เศษเหล็กให้ร้อนเป็นเหล็กแดง แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3 วัน (ตากกลางแดดยิ่งดี) แล้วกรองเอาน้ำไปใช้”.
  5. น้ำมะขามเปียก / น้ำส้มปอย : นำมะขามปียหรือส้มปอย ต้มในน้ำสะอาดอัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 1 คั้นเอาน้ำไปใช้
  6. มอร์แดนท์เคมี : ละลายสารส้ม หรือ เฟอรัสซัลฟต” ในน้ำอุ่นให้ละลายหมด ก่อนนำไปผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนที่ต้องการ ก่อนนำไปใช้

หมายเหตุ : ก่อนนำไปใช้ควรวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง (PH) ให้เหมาะสม ถ้าเข้มข้นเกินไปให้เติมน้ำเพื่อจาง
หมายเหตุ” : น้ำสนิมเหล็กและเฟอรัสชัลฟต หากใช้ปริมาณที่เข้มข้นเกินไป จะทำให้เส้นด้าย

 

การใช้มอร์แดนท์ในการช่วยย้อมสีธรรมชาติมี 4วิธี ได้แก่

วิธีที่ 1 การย้อมมอร์แดนท์ก่อนการย้อมสีนำเส้นด้ายที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วไปชุบหรือต้มย้อมกับมอร์แดนท์ก่อนนำไปย้อมด้วยน้ำย้อมสีธรรมชาติิตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4. 1วิธีการนี้ น้ำสีในหม้ออาจจะเปลี่ยนสีไปเพราะมอร์แดนท์ที่อยู่ในเส้นด้ายจะละลายออกมาผสมกับน้ำสีในหม้อเดียวกัน

วิธีที่ 2 การย้อมมอร์แดนท์พร้อมกับการย้อมสีทำโดยใส่มอร์แดนท์ (ที่เตรียมไว้) ลงไปผสมในน้ำสี

แล้วจึงนำเส้นด้ายลงไปย้อม ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4. 1 วิธีการนี้น้ำสีอาจจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม

เพราะถูกผสมด้วยมอร์แดนท์ในหม้อเดียวกัน

วิธีที่ 3 การย้อมมอร์แดนท์หลังการย้อมสีทำโดยนำเส้นด้ายลงไปย้อมน้ำสีก่อน(ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4.1)แล้วจึงนำเส้นด้ายที่ย้อมสีแล้วไปชุบหรือย้อมด้วยมอร์แดนท์ภายหลัง โดยขณะชุบย้อม

ต้องบีบนาคเส้นด้ายให้มอร์แดนท์ซึมชาบเข้าไปให้ทั่วถึง วิธีการนี้จะช่วยทำให้เส้นด้ายเกิดเฉดสีใหม่ขึ้น”นอกจากนี้วิธีการนี้ทำให้สามารถนำเส้นด้ายที่ย้อมสี(ชนิดเดียวกัน)แล้ว ไปสร้างสีสันใหม่กับมอร์แดนท์ที่แตกต่างกันออกไปได้ โดยที่น้ำสีในหม้อตั้งต้น สีไม่เปลี่ยนแปลงไป

หมายเหตุ : คุณสมบัติของมอร์แดนท์ นอกจากจะเป็นสารที่ช่วยในการยึดและจับสีแล้ว ในบางครั้งยังทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

วิธีที่ 4 การย้อมมอร์แดนท์ตามลำดับพร้อมกับการย้อมสี วิธีการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสีสันในเฉดสีที่ต้องการโดยอาศัยคุณสมบัติของมอร์แดนท์แต่ละตัว (ซึ่งมีข้อจำกัดว่าหากผสมมอร์แดนท์ชนิดต่าง ๆ ลงไปในน้ำสีพร้อมกันจะไม่ได้เฉดสีที่ต้องการ ต้องผสมเป็นลำดับ)การย้อมด้วยวิธีการนี้ เริ่มต้นจากการย้อมเส้นด้าย ในน้ำสีโดยไม่ต้อผสมมอร์แดนท์ (วิธีที่ 2) โดยใช้เวลาย้อมประมาณ 15 นาที่ (เพื่อไม่ให้เส้นด้ายอิ่มสี) จากนั้นยกเส้นด้ายออกจากหม้อ เติมมอร์แดนท์ชนิดที่ 1 ลงไปผสมในหม้อน้ำสี จากนั้นนำเส้นด้ายลงไปย้อมอีกครั้งประมาณ 10-15 นาทีีจากนั้นยกเส้นด้ายยออกจากหม้ออีกครั้ง แล้วเติมมอร์แดนท์ชนิดที่ 2 ลงไปผสมในหม้อน้ำสี จากนั้นนำเส้นด้ายลงไปย้อมอีกครั้ง ประมาณ 10-15 นาที่ ทำไปเช่นนี้กับมอร์แดนท์ลำดับต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้เฉดสีที่พอใจหรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสีจากนั้นนำเส้นด้ายไปตากและล้าง ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4.1

เคล็ดไม่ลับ : การผสมสี นอกจากเราจะใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อมในการเปลี่ยนสีแล้วยังเคยทำการทดลองลายวิธีการ อาทิ 1) ผสมสีด้วยการนำน้ำสีต่างชนิดมาผสมในหม้อเดียวกันแล้วจึงทำการย้อมหลายอย่างไปด้วยกันได้และให้สีสันใหม่ ขณะที่บางอย่างก็ไม่เกิดผลที่นพอใจ
2) เมื่อย้อมเส้นด้ายด้วยสีหนึ่งเสร็จแล้ว ตากให้แห้ง จากนั้นนำมาย้อมอีกที่กับน้ำสีอีกชนิดหนึ่ง ก็จะได้สีสันที่แตกต่างกันออกไปการย้อมสีรรมชาติอาจมีทฤษฎี/หลักการเป็นแนวทาง แต่สัจธรรมของความเป็นธรรมชาติ คือความไม่แน่นอน ฉะนั้น การทดลองอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง ก็อาจทำให้เราได้ผลลัพธ์และสีสันใหม่ ๆ ได้เช่นกัน . .