banner

"ทำไมต้องสีธรรมชาติ?"

เมื่อต้องหาคำตอบให้กับคำถามดังกล่าวเราพบข้อคิดเห็นในหลากหลายมิติ ดังนี้

"ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค"

"น้ำทิ้งจากกระบวนการย้อม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม "

วัสดุให้สีและสาช่วยย้อมต่าง ๆ มาจากธรรมชาติโดยส่วนใหญ่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน"เมื่อต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ทำให้เห็นคุณค่า ก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้ผลิตผู้บริโภคกับธรรมชาติ เกิดความรักความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน""ความรู้จกการย้อมสีธรรมชาติในชุมชน เป็นมรดกภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่ถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ได้ถูกพิสูจน์มารุ่นแล้วรุ่นเล่าว่าใช้ได้จริงสอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดและส่งต่อภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไปน้ำไปใช้ประโยชน์ได้"เมื่อได้คำตอบสำคัญ ๆ ถึง 5 ข้อเช่นนี้แล้ว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า "ทำไมต้องสีธรรมชาติ?" ทำไมผู้ผลิตจึงต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการย้อมผ้า และทำไมผู้บริโภคจึงเรียกร้องหาผลิตภัณฑ์

ที่ได้จากสีธรรมชาติมาสามใส่ใช้สอยทำให้เกิดมีการวิจัย พัฒนา และจัดการความรู้เรื่องการย้อมสีธรรมชาติ

ของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีลักษณะทางระบบนิเวศที่มีความพิเศษแตกต่างไปจากพื้นที่อื่น ๆ โดยชุมชนที่ร่วมทำการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย

1) บ้านห้วยตองก็ ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง เป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอ และ
2) บ้านป่าแป ต.ป่าแป้ อ.แม่สะเรียง เป็นชุมชนชาวเลอเวือะ

การวิจัยนี้เกิดขึ้นเพื่อจัดการองค์ความรู้ในชุมชน นำผลไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และขยายแนวความคิดไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ที่สนใจอยากนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปขยายผล สร้างงาน สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน้ำเสนอ/จำหน่ายให้กับผู้บโภคที่สนใจต่อไป เป็นการวิจัย พัฒนา และจัดการความรู้ที่ช่วยสร้างสรรค์ทั้งเศรษฐกิจ สืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาชณะที่สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุลงาน วิจัย พัฒนา และจัดการความรู้ครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้โครงการวิจัย"การยกระดับผลิตภัณฑ์และสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน " โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ดอยสเตอร์ (Doister) ชุมชนห้วยตองก๊อ และชุมชนป่าแป้ แม่ฮ่องสอนโดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว) และการสนับสนุนจากภาคีต่าง ๆ ได้แก่ เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน Thai Localista และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)