การย้อมสีของบ้านแม่ก๊ะปียง

บ้านแม่ก๊ะเปียง หมู่ที่ 8 ของตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขาที่ประกอบด้วยสองชนเผ่าคือ ชนเผ่าปากะญอ(กระเหรี่ยง) และชนเผ่าม้ง ซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันประมาณกว่าหกสิบปีแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้นำการก่อตั้งชุมชนคือนาย แหนะแป สะปุ่น โดยอาศัยลำน้ำมาก่อตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆเดิมเป็นชุมชนชนเผ่ากระเหรี่ยงตั้งชื่อชุมชนว่า “แม่ก๊ะเปียง” ต่อมามีชนเผ่าม้งมาตั้งชุมชนเลยจากชนเผ่ากระเหรี่ยงขึ้นไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งชื่อชุมชนว่า “ห้วยเตารู” ซึ่งภายหลังได้รวมทั้งสองชุมชนเป็นบ้านแม่ก๊ะเปียง หมู่ที่ 8 ของตำบลสะลวง สภาพการดำรงชีพและความเป็นอยู่ทั่วๆไปของคนในหมู่บ้าน มีการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพการเกษตรที่ยึดหลักการอนุรักษ์และอยู่ร่วมกับป่าไม้ ด้านวัฒนธรรมประเพณียังคงอนุรักษ์ไว้ เช่นการแต่งกาย การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น

การย้อมสีธรรมชาติ

การย้อมสีธรรมชาติจะทำมาแต่ดั้งเดิมจากรุ่นสู่รุ่น และสีย้อมธรรมชาติจะหาดูได้ยากส่วนใหญ่จะใช้สีเคมีในการย้อม การย้อมสีธรรมชาติจะมีหลายสีเช่น สีขมิ้น สีไม้ประดู่ สีไม้เพกา สีต้นคราม และต้นสัก

ขมิ้น

จะใช้ส่วนของหัวขมิ้นจะไม่ใช้ใบของขมิ้นขมิ้นจะให้สีเหลืองและเป็นพืชล้มลุกในการย้อมนั้นเราจะต้องซอยให้เป็นชิ้นและหลังจากการซอยและเตรียมในการย้อมต่อไป

 

ไม้ประดู่

จะใช้เปลือกจากต้น และเป็นพืชพันธ์ไม้ยืนต้น สับให้เป็นขนาดปานกลางไม่ใหญ่จนเกินไปเพื่อเตรียมในการย้อมสี

 

ไม้เพกา

จะใช้เปลือกจากต้น โดยการใช้มีดในการแกเปลือกของไม้เพกาออกจากต้น และเป็นพืชพันธ์ไม้ยืนต้น สับให้เป็นขนาดปานกลางไม่ใหญ่จนเกินไปเพื่อเตรียมในการย้อมสี

 

ต้นคราม

ต้นครามจะใช้ใบของต้นครามมาทำการย้อมสี ในการย้อมสีจะนำใบของต้นครามนำมาซอยให้ชิ้นเล็ก จากนั้นนำใบครามที่ซอยเพื่อรอทำการย้อมสีต่อไป

 

ต้นสัก

ไม้สักจะใช้ในส่วนของใบ ในการย้อมสีจะใช้ใบไม้สักในการย้อม ซอยใบไม้สักให้เป็นชิ้นขนาดปานกลาง โดยจะใบไม้สักที่อ่อน ไม่ใช้ใบแก่

 

ส่วนผสมของการย้อมสีจะมี 4 อย่าง ได้แก่

1. ใบฝรั่งจะมีรสฝาดและยังสามารถทำให้ในการย้อมสีผ้า ทำให้สีติดด้ายได้ง่าย

2. ใบส้มป่อย ใบส้มป่อยจะมีรสเปรี้ยวจะทำให้สีติดด้ายได้ง่ายเช่นกัน

3. น้ำขี้เถ้า เป็นส่วนผสมในการย้อมสีธรรมชาติ โดยน้ำขี้เถ้าสามารถช่วยในการย้อมสีให้สีติดด้ายได้ง่าย ในการย้อมจะใช้น้ำขี้เถ้าประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อน้ำ 3-4 ลิตร

4. กาบกล้วย กาบกล้วยจะมีรสฝาด ส่วนที่ใช้ของกาบกล้วยคือน้ำของกาบกล้วย โดยการบีบเอาน้ำที่อยู่ในกาบกล้วยมาใช้เป็นส่วนผสมในการย้อมสี และช่วยทำให้ในการย้อมสี ติดด้ายได้ดีเหมือนกันและทำให้สีไม่ตก

 

ขั้นตอนในการย้อม

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมด้ายสำเร็จรูปมา 2 ใจ ด้ายสำเร็จรูปนี้จะติดน้ำมันทำให้การย้อมสีนั้นไม่ติด ให้ทำการซักด้ายทั้ง 2 ใจ ให้สะอาดเพื่อให้น้ำมันที่ติดอยู่กับด้ายนั้นหลุดไป หลังจากซักด้ายแล้วบีบด้ายให้หมาด ๆ และสะบัดด้ายให้กระจายตัวเพราะว่าจะทำให้สีติดด้ายได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นให้นำเชือกฝางมามัดทั้ง 2 ใจ เพื่อเตรียมในการย้อมสีขั้นตอนต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ขมิ้น ขมิ้นจะให้สีเหลืองแต่สีจะไม่เข้มเท่าสีเคมี

ขั้นตอนที่ 2 หั่นขมิ้นให้เป็นชิ้น และชั่งขมิ้น ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ต่อด้าย 2 ใจ หลังจากนั้นนำขมิ้นไปตำตำให้ละเอียด หลังจากตำขมิ้นให้ละเอียดแล้ว นำไปใส่ในกะละมังและใส่น้ำ 1 ลิตร ต่อขมิ้น 2 กิโลกรัม หลังจากนั้นแช่ทิ้งไว้ 1 คืน (หากส่วนผสมในการย้อมเป็นเปลือกไม้จะใส่ถุงห่อไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ด้ายขาดหรือการนำด้ายออกจากเปลือกไม้ลำบาก)

ขั้นตอนที่ 3 หลังจากการเตรียมส่วนผสมของการย้อมสีเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำส่วนผสมในกะละมังทั้งหมดไปต้ม โดยเทน้ำที่เราแช่ทิ้งไว้ 1 คืน กับส่วนผสมต่าง ๆ ในกะละมังเทลงหม้อเพื่อทำการต้ม และใส่ส่วนผสมของการย้อมสีธรรมชาติ ได้แก่ ใบส้มป่อย ใบฝรั่ง น้ำขี้เถ้า และน้ำกาบกล้วย หลังจากนั้นจะต้มพักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าต้มจนเดือดจะทำการคนไปด้านใดด้านหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทำการต้มเสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำด้ายที่ต้มไปตาก (น้ำที่นำมาต้มด้ายในการย้อมสีจะใช้แค่เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากเก็บไว้ใช้ครั้งต่อไป สีเส้นด้ายในย้อมจะอ่อนลง) หลังจากการต้มจะนำด้ายมาบีบน้ำออก และนำด้ายที่ต้มสะบัด ๆ เพื่อให้เศษใบไม้หรือเศษส่วนผสมต่าง ๆ หลุดออกจากด้ายและทำให้ด้ายกระจายตัว จากนั้นนำด้ายมาซักน้ำปล่าวประมาณ 2-3 ครั้ง จากนั้นนำด้ายมาตากแล้วสะบัดให้ด้ายกระจายตัวอีกครั้งเพื่อทำให้ด้ายแห้งเร็วขึ้น