การย้อมสีของหมู่บ้านละอูบ

 

นายณัฐพงษ์ ไผ่พันธุ์พฤกษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านละอูบ หมู่บ้านละอูบตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน คนประชาชนในพื้นที่เป็นชาวไทยภูเขาชาวเผ่าละว้าทั้งหมด มีจำนวนหลังคาเรือน 218 หลังคาเรือน แล้วมีประชากร 1,120 คน เดิมทีหมู่บ้านละอูบมาจากหลายทิศทางแต่ก๋มารวมตัวกันมาอยู่ที่ภูเขาแห่งนี้ก็คือภูเขา โมซัมเบียง ซึ่งตั้งถิ่นฐานมาประมาณ หลายร้อยปี ซึ่งชาวบ้านละอูบจะเกี่ยวกับเครื่องเงิน การย้อมสีผ้า การทอผ้า โฮมสเตย์ และกาแฟ เช่นการทอผ้า

 

กลุ่มทอผ้าศิลปาชีพ

โดยมี นางอานา มิ่งศรีสุข ประธานกลุ่มทอผ้าละว้าศิลปาชีพบ้านละอูบ ประวัติกลุ่มทอผ้าของเราจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2536 เริ่มแรกมีสมาชิกกลุ่ม 10 คน ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 43 คน ลายเด่นของชาวละอูบ มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ลายตวนเขาดูมาจากลายงูเหลือม สมัยปู่ย่าตายเมื่อก่อนเขาว่าลายงูเหลือมนี้เป็นลายศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านละว้าก็เลยลายตัวนี้เป็นลายประจำตัวของชาวเผ่าละว้าและจะมีติดตัวกันทุกคน จากแรกเกิดจนถึงสุดท้ายของชีวิต และจะมีลายไก่ฟ้า มีลายเพิ่มคือลายมัดหมี่ ลายมัดหมี่นี้จะเป็นจุดเด่นของชาวละว้า ผ้าลายนี้ตอนแรกจะนำผ้ามาปั่นจากนั้นจะทำการมัดหมี่และย้อมสีต่อไป ลวดลายของบ้านละอูบเราจะมีจุดเด่น และสวยงาม จากชุดของละว้าแล้วยังมีเครื่องประดับเช่นสร้อยละว้า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นเคไทของละว้า ส่วนใหญ่จะใช้สีธรรมชาติในการย้อม โดยใช้ส่วนผสมต่าง ๆ จากธรรมชาติ

 

สาธิตการย้อมผ้า

วัสดุดิบในการย้อมผ้า ได้แก่

สีเหลืองจะขมิ้นในการย้อม นำเอาขมิ้นมาซอยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อเตรียมในการย้อม และจะมีน้ำดังหรือน้ำขี้เถ้าที่กรองจนใสแล้ว ประมาณ 1 ลิตร ต่อมาจะมีน้ำหินปูนที่ใช้สำหรับกินกับหมากและมีน้ำมะนาว

สีแดงจะใช้ ต้นเฆรืองโดยใช้รากของต้นเฆรือง วัสดุในการย้อม ได้แก่ น้ำดังหรือน้ำขี้เถ้าที่กรองจนใสแล้วประมาณ 1 ลิตร และน้ำหินปูนที่ใช้สำหรับกินกับหมากและมีน้ำมะนาว อุปกรณ์สำคัญในการย้อมคือด้าย ก่อนย้อมสีต้องนำด้ายที่เตรียมไว้นำมาซักกับผงซักฟอก เพื่อซักให้สะอาด

 

ขั้นตอนการย้อมสีผ้า

ขั้นตอนที่ 1 นำด้ายที่ตรียม นำมาซักผงซักฟอก ซักให้สะอาดจนน้ำใสเพราะ เวลาย้อมสีแล้วสีจะไม่ตกหลังจากซักเสร็จแล้วนำเปลือกไม้ที่เราเตรียมไว้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ต้นเฆรืองที่จะย้อมให้เป็นสีแดง นำเปลืองไม้ที่เตรียมไว้มาใส่ถุงจากนั้นปิดปากถุงแล้วเตรียมนำไปใส่ในหม้อที่ต้มน้ำจนเดือด

ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นก็นำ น้ำหินปูนที่ใช้สำหรับกินกับหมาก ใส่ลงในหม้อที่ต้มเดือด เพื่อทำให้สีเข้มขึ้นจากนั้น ใส่น้ำขี้เถ้าหรือน้ำดัง ลงไปประมาณ 1 ลิตร เพื่อทำให้สีเข้มขึ้น จากนั้นนำเกลือใส่ลงไปนิดหน่อยเพื่อช่วยให้สีติด จากนั้นนำน้ำมะนาวที่คั้นไว้แล้วนำมาใส่ในหม้อ ต้มน้ำและส่วนผสมทั้งหมดที่ใส่ ประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นนำฝ้ายที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อที่น้ำเดือด

ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นนำข้าวแป้งใส่ลงในหม้อประมาณ 1 กำมือ ใส่เพื่อทำให้การทอสนุก จะทำให้ไม่มีขน เวลาทอจะทอได้ง่าย ทอลื่น จากนั้นต้มปล่อยไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง

ขั้นตอนที่ 4 หลังจากต้มฝ้ายจนครบ 1 ชั่วโมง เราจะนำฝ้ายออกไปแช่น้ำรอให้ฝ้ายเย็น หลังจากที่ฝ้ายเย็นแล้วจะทำการบีบให้น้ำออกจากตัวฝ้าย แล้วนำไปตากแดด

 

ขั้นตอนการทอ

หลังจากการย้อมสีของฝ้ายแล้ว จะนำฝ้ายที่ได้นำมาม้วนและขึ้นเครือตามที่เราต้องการจากนั้นก็เก็บลวดลายของผ้าชิ้นนั้น เช่นการทำลายตวน ใช้เวลาประมาณ 3 วันในการทอ จากการทอ ก็มีการเย็บเข่น ลาย ก้างปลา และ ลายตีนกบ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน และที่เป็นจุดเด่นของชาวละว้า คือการมัดหมี่ ใช้เวลามัดหมี่ ประมาณ 4 วัน จากนั้นเราก็นำมาย้อมสี