การย้อมสีของกลุ่มถักทอดีไซน์เชียงใหม่

เริ่มแรกจากการย้อมผ้า แฟนได้ออกงานประจำทำงานบริษัททำเกี่ยวกับไอที วิศวะกรคอมพิวเตอร์ จนก็อิ่มตัว ก็เลยมาร่วมกันคิดว่าจะมาย้อมผ้าโดยมีพื้นฐานมาจากคุณปม่ ซึ่งคุณแม่ย้อมผ้ามาได้ 20ปี แล้วได้คิดว่า ใยกันชง สามารถตีตลาดได้ ทั้งสองคนเลยไปสมัครโครงการสถาบันสิ่งทอ เกี่ยวกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ไปเรียนรู้ว่าจะสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยการที่เราไม่มีอะไรเลย มีแต่ใยกันชงและมีสีเดิม ๆ จากธรรมชาติ เลยว่าจะทำอย่างไงให้ดูสวยงาม สดุดตา ดูมีสีสันหลากหลาย แล้วได้นำไปเสนอ และได้ถูกคัดเลือก 16 กลุ่มภาคเหนือ แล้วสถาบันได้ส่งวิทยากรไปสอน โดยเริ่มต้นจากการย้อมครามและสีครั่ง โดยเอาใยกันชงไปทดสอบย้อมการโดยที่ยังไม่ได้สอน โดยเอาเข้าห้องแลป แล้วได้ทำเป็นกระเป๋าใยกันชง มาตกแต่งให้มีสีสันสวยงามและโคงการนี้เน้นในเรื่องธรรมชาติ แนวธรรมชาติรักโลก เลยไปย้อมสีจากธรรมชาติ สีที่ย้อมจากครามและครั่งบนเส้นใยกันชง ได้นำเส้นใยมาทำเป็นกระเป๋า รองแก้ว รองจาน จากนั้นไปประกวดระดับภาคให้ได้ตัวแทนภาคละ 1 กลุ่มเพื่อเข้ารอบไปแสดงสินค้าที่เมืองโตเกียว(ประเทศญี่ปุ่น) และเกิดแรงบรรดาลใจว่า .”มีแค่สองสียังสามารถได้ขนาดนี้ ถ้ามีสีมากกว่านี้คงจดี” ทั้งสองเลยศึกษา ค้นหว้าตามอินเตอร์เน็ตลองผิดลองถูกจนประสบผลสำเร็จทำสีย้อม ได้มากถึง 18 สี

อุปกรณ์ที่ใช้สีธรรมชาติ

  • ต้นฝาง จะได้สี แดง ส้ม น้ำตาลแดง
  • เปลือกมะเกี๋ยง จะได้สี น้ำตาลลอมชมพู
  • ใบสัก จะได้สี น้ำตาลลอมชมพู
  • ลูกค้อ(ลูกแก่) จะได้สี ชมพู ม่วงอกมเทา
  • เมล็ด คำแสด คำเงาะ จะได้สีส้ม
  • เนื้อไม้ขนุน จะสี เหลือง
  • ขมิ้น จะได้สี เหลือง
  • เปลือก ใบมะม่วง จะได้สี เหลือง เหลืองอมเขียว
  • เปลือก ผล เพกา จะได้สี เหลิองอมเขียว
  • ผลปิ้งขาว จะได้สี ฟ้าอมเขียว
  • ใบห้อม จะได้สี น้ำเงิน เทาแกมน้ำเงิน
  • รากยอป่า จะได้สี น้ำตาลลอมแดง
  • เปลือก ก่อ(1) จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกก่อ (2) จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกส่าโกแระ จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกเชพอบอ จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกสีเสียด จะได้สี น้ำตาล
  • ลูกอ่อน ค้อ จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกไม้สารภีป่า จะได้สี น้ำตาล
  • ใบกาแฟ จะได้สี น้ำตาล
  • เปลือกโกะ จะได้สี น้ำตาลลอมเหลือง
  • ผลคนทา จะได้สี เทาแกมม่วง น้ำตาล
  • ผลมะขามป้อม จะได้สี เทาเข้ม ดำ

 

สารช่วยย้อมจากธรรมชาติ

  1. ย้อมตรง ไม่ใช้สารช่วยย้อม
  2. สารช่วยย้อม สารส้ม
  3. สารช่วยย้อม น้ำขี้เถ้า
  4. สารช่วยยย้อม น้ำปูนใส
  5. สารช่วยย้อม เฟอรัสซัลเฟต
  6. สารช่วยย้อม น้ำโคลนเป็นสารย้อมมอร์แดนท์หลังจากการย้อมตรง

 

การเตรียมวัสดุให้สีจากธรรมชาติ

วัสดุให้สีจกรรรมชติ ทั้งจากพืช สัตว์ และอื่น ๆ นั้นก่อนนำไปสกัดสี จะต้องมีการเตรียมก่อนเพื่อให้วัสดุมีความพร้อม และให้สีเต็มที่เมื่อนำไปสกัด โยส่วนใหญ่ในพื้นที่งนิยมนำพืชมาสกัดสี โดยส่วนมากจะใช้เปลือก แก่น ราก หัวหรือเหง้า ดอก ใบ ผลและเมล็ด โดยในแต่ละส่วนมีการเตรียมที่แตกต่าง

 

 

 

1. การเตรียมวัสดุจากแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือ เหง้า : สำหรับเนื้อไม้หรือแก่นไม้ ใช้มีตผ่าให้เป็นซี่เล็ก ๆ ขนาด นิ้วมือ หรือยิ่งเล็กยิ่งดี ส่วนเปลือก ราก หัว และเหง้าสับบ/ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือถ้ำไม่แข็งมากใช้ครกตำให้แหลก จากนั้นนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี

หมายเหตุ : บางสูตรบอกว่าแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือเหง้า หลังตัดมาจากต้น ให้ผึ่งลมทิ้งไว้ 2-3 วันให้ยางฝาดแห้งก่อนนำไปเตรียมการสกัดสี จะทำให้ได้สีสันที่ดีขึ้น

 

2. การเตรียมวัสดุจากใบหรือดอก : นึ่งใบหรือดอกด้วยไอน้ำ 5-10 นาทีีแล้วแช่น้ำเย็น 10-15 นาที
ก่อนนำไปสกัดสี แต่ถ้าไม่สะดวก ให้สับหรือตำใบ/ดอกให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปสกัดสี

 

3. การเตรียมวัสดุจากผลและเมล็ด : ผลแห้ง ถ้ามีขนาดใหญ่ ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ถ้าผลมีขนาดเล็ก (ปิ้งขาว) บุบให้แหลกพอหยาบ ๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี สำหรับเมล็ดแกะเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเมล็ด (คำแสด) ออกมาแช่น้ำให้เปื่อย ผลสด (มะขามป้อม ลูกค้อ ลูกคนทา) บุบหรือตำพอหยาบ ๆ แช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี

หมายเหตุ : ผลสดบางชนิด สามารถดองน้ำเปล่าเก็บไว้ใช้ได้นอกฤดู เช่น มะข้ามป้อม ลูกค้อแก่ คนทา เป็นต้น
การสกัดสี

 

 

หลังจากเตรียมวัสดุให้สีไว้แล้วตามวิธีและเวลาที่ตั้งไว้สำหรับการสกัดสีแบบร้อน ให้นำวัสดุให้สีนั้น ๆ มาใส่หม้อสแตนเลสหรืออลูมิเนียม (หม้อเหล็กอาจมีผลต่อสีที่สกัดได้) เติมน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แต่อย่างน้อยต้องท่วมวัสดุให้สี ต้มเคี่ยวประมาณ 1-2 ชั่วโมง

1-2 ชั่วโมงไฟแรง สำหรับ แก่น เปลือก ราก เหง้าหรือจนได้สีที่ต้องการ
1 ชั่วโมง+ไฟอ่อน สำหรับใบ ดอก และผล/เมล็ดหรือจนได้สีที่ต้องการ

จากนั้นกรองเอากากออก เหลือแต่น้ำสี เพื่อนำไปย้อมเส้นด้ายต่อไป นอกจากนี้ยังมี “การสกัดสีแบบเย็น” สำหรับชนิดพีชที่ให้ปริมาณเม็ดสีมากแม้สกัดในน้ำอุณหภูมิห้อง เช่น ขมิ้น คำแสด เป็นต้น ซึ่งบางชนิดก็ต้องใช้วัสดุให้สีในปริมาณที่มากพอสำหรับการย้อม

 

การย้อมสีธรรมชาติ

โดยทั่วไปวิธีการย้อมสีธรรมชาติ มี 3 วิธี คือ 1. การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) 2. การย้อมแบบแวตหรือการก่อหม้อย้อม (Vat Dyeing) และ 3. การย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant Dyeing) แต่ในที่นี้จะนำเสนอการย้อม 2 แบบ คือ การย้อมโดยตรง และการย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี ซึ่งเป็นธรรมชาติของการย้อมสีของคนบนพื้นที่สูงอย่างกลุ่มปกาเกอะญอและเลอเวีอะ

3.1 การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) : วัสดุให้สีจากรรมชาติบางชนิด มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกับเส้นใยได้ดีโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยติดสี ด้งนั้นจึงสามารถย้อมได้โดยกระบวนการ “ย้อมตรง ” ซึ่งสามารถย้อมได้ทั้งการ “ย้อมเย็น” คือการย้อมในน้ำสีที่สกัดไว้แล้วที่อุณหภูมิห้อง แต่ปกติเส้นใยจะดูดชับและติดสีได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 8 องศาเชลเชียส ซึ่งเรียกกว่าการ “ย้อมร้อน” ฉะนั้นสำหรับการย้อมสีที่ไม่ใช้สารช่วยติดสี แนะนำให้ย้อมด้วยกระบวนการย้อมร้อน โดยมีเทคนิควิธี ดังนี้

1. นำน้ำสีที่สกัดไว้และกรองเรียบร้อยแล้วใส่หมอสแตนเลสหรืออลูมิเนียมขึ้นตั้งไฟ จนมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 65-80 องศาเซลเชียส ความร้อนจะช่วยให้เส้นด้ายพองตัว ทำให้เม็ดสีเคลื่อนที่เข้าไปในเส้นด้ายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น(การให้ความร้อนไม่จำเป็นต้องต้มจนน้ำสีเดือดก็ได้ เพราะอาจสิ้นเปลืองพลังาน และยังมีปัญหาจากการที่น้ำในหม้อระเหยน้ำแห้งจนต้องหมั่นเติมน้ำกลับลงไป ทำให้สีในน้ำย้อมมีความเข้มข้นไม่คงที่)

2. นำเส้นด้ายฝ้ายในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำสี ใส่ในห่วงย้อมผ้า (1คู่) แล้วแซ่เส้นใยฝ้ายในน้ำสี ให้น้ำท่วมเส้นด้าย แช่ไว้ประมาณ 10 นาที

3. ยกห่วงคล้องเส้นดยขึ้น ให้เส้นด้ายส่วนหนึ่งยังแช่ในน้ำสี โยกขยับเส้นด้ายส่วนที่อยู่ในน้ำสีขึ้นมาสัมผัสอากาศ และขยับอีกส่วนลงไปแซ่ในน้ำสี ทำเช่นนี้วน ๆ ไป สลับกับการพลิกกลับเส้นด้ายที่อยู่ด้านในออกมาด้านนอก เพื่อให้ส่วนต่าง ๆ ของเส้นด้ายได้ดูดชับเม็ดสีเข้าไปอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ การโยกเส้นดยขึ้นลงจะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีตกตะกอนนอนอยู่กันหม้อ ทำเช่นนี้ประมาณ 10 นาที แล้วแช่เส้นด้ายลงในน้ำสีทิ้งไว้อีกประมาณ10 นาที ทำสลับกับการโยกเส้นด้ายขึ้นลงในน้ำสี รอบละ 10 นาที หากไม่มีห่วงย้อมผ้า ให้ใช้ไม้พายคนและยกเส้นด้ายขึ้นลงกลับไปกลับมาเพื่อให้เม็ดสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายอย่างทั่วถึง หมั่นคนเพื่อไม่ให้สีตกตะกอนเพราะจะทำให้สีติดเส้นดยไสเสมอ สลับกับการแซ่เส้นด้ายไว้เฉย ๆ รอบละประมาณ 10 นาทีเช่นกัน

4.ทำขั้นตอนที่ 3 สลับกันไปจนครบ 60-90 นาที หรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสี หรือได้เฉดสีที่พอใจ และมีสีสันสม่ำเสมอทั่วกัน

5.บิดเส้นด้ายพอหมาด ๆ แล้วนำขึ้นตากในร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก โดยการคล้องในราวตาก และคอยขยับหมุนเส้นด้ายไม่ให้น้ำสีไหลมากองรวม ณ จุดเดียว เพราะจะทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ขยับจนเส้นต้ายแห้งหมาด ๆ จากนั้นจึงตากเส้นด้ายทิ้งไว้จนแห้งสนิท

6.นำเส้นด้ายฝ้ายที่ทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วไปลงในน้ำสะอาดจนสีหลุดออกน้อยที่สุด บิดพอหมาด
แล้วตากในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวกจนแห้งสนิท

7.เก็บเส้นด้ายในที่ปลอดแสและอากาศถ่ายเทสะดวกไม่อับขึ้น ก่อนนำเส้นด้ายไปใช้งานต่อไป