การเตรียมเส้นด้าย
การเตรียมเส้นด้ายให้มีความพร้อมสำหรับการย้อมสีธรรมชาติ
ไม่ใช่เส้นใยทุกชนิดจะย้อมสีธรรมชาติแล้วได้สีสันสวยงามเส้นใยที่นำมาใช้ย้อมสีธรรมชาติและให้ผลลัพธ์ที่ดี คือ เส้นใยที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ ทั้งเส้นใยจากพืช ไม่ว่าจะเป็นฝ้ายลินิน กัญชง ปอ ป้าน ฯลฯ เส้นใยจากสัตว์ เช่น ไหม ขนสัตว์ นอกจากนี้ยังมีเส้นใยประดิษฐ์อย่างเส้นใยกึ่งสังเคราะห์อย่างเช่นเส้นใยเรยอน ที่นิยมนำมาใช้และย้อมติดสีธรรมชาติได้ดีการย้อมเส้นใยหรือเส้นด้ายให้สีธรรมชาติติดดีสีสวยนั้นจะต้องมีการทำความสะอาดเส้นด้ายก่อน เนื่องจากปัจจุบันเส้นด้ายที่นำมาถักทอเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค นิยมใช้เส้นด้ายจากเส้นใยฝ้ายที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะมีไขมันหรือสารที่เกาะเคลือบเส้นด้ายฝ้ายอยู่ ถ้าไม่ทำความสะอาดก่อน สีอาจจะไม่ติดดี ฉะนั้นจึงต้องทำความสะอาดเส้นด้ายก่อนย้อมเสมอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
อุปกรณ์ที่ใช้ทำความสะอาดเส้นด้าย :
เพื่อความสะดวก จึงใช้วัสดุที่หาได้สะดวกในชุมชน ได้แก่
1) หม้อต้ม
2) น้ำยาล้ำงจานชนิดเข้มขั้น
3) ไม้พาย
4) น้ำสะอาด
วิธีทำความสะอาดเส้นด้าย
เทน้ำใส่ในหม้อ ต้มให้เดือด ใส่น้ำยาล้ำงจานอัตราส่วนตามความเหมาะสมหรือประมาณน้ำ 20 ลิตรต่อน้ำยาล้างจานเข้มข้น 3-4 ซ้อนโต๊ะคนให้ละลายเข้ากันกับน้ำ
น้ำเส้นด้ายใส่ลงไปในหม้อต้ม ให้น้ำท่วมเส้นด้ายอย่าใส่จนแน่นเกินไป หมั่นกลับพลิกเส้นฝ้าย เพื่อให้ทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง ต้มทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
เมื่อครบตามวลาที่กำหนด หรือที่เหมาะสม นำเส้นด้ายขึ้นจากหม้อต้ม แขวนให้เส้นด้ายคลายความร้อนและสะเด็ดน้ำ แล้วล้ำงเส้นด้ายในน้ำเปล่าให้สะอาดจนหมดฟอง บิดพอหมาดกระตุกให้เส้นด้ายเรียงตัว ตากจนเส้นด้ายแห้งหมาดน้ำ แล้วนำไปย้อมสี แต่ถ้ายังไม่ย้อมทันทีให้ตกจนแห้สนิท แล้วเก็บเส้นด้ายใน ที่ ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับจนชื้น หรือเก็บในภาชนะที่ป้องกันความขึ้น
การเตรียมวัสดุให้สีจากธรรมชาติ
วัสดุให้สีจกรรรมชติ ทั้งจากพืช สัตว์ และอื่น ๆ นั้นก่อนนำไปสกัดสี จะต้องมีการเตรียมก่อนเพื่อให้วัสดุมีความพร้อม และให้สีเต็มที่เมื่อนำไปสกัด โยส่วนใหญ่ในพื้นที่งนิยมนำพืชมาสกัดสี โดยส่วนมากจะใช้เปลือก แก่น ราก หัวหรือเหง้า ดอก ใบ ผลและเมล็ด โดยในแต่ละส่วนมีการเตรียมที่แตกต่าง
- การเตรียมวัสดุจากแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือ เหง้า : สำหรับเนื้อไม้หรือแก่นไม้ ใช้มีตผ่าให้เป็นซี่เล็ก ๆ ขนาด นิ้วมือ หรือยิ่งเล็กยิ่งดี ส่วนเปลือก ราก หัว และเหง้า สับบ/ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือถ้ำไม่แข็งมากใช้ครกตำให้แหลก จากนั้นนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี
หมายเหตุ : บางสูตรบอกว่าแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือเหง้า หลังตัดมาจากต้น ให้ผึ่งลมทิ้งไว้ 2-3 วันให้ยางฝาดแห้งก่อนนำไปเตรียมการสกัดสี จะทำให้ได้สีสันที่ดีขึ้น - การเตรียมวัสดุจากใบหรือดอก : นึ่งใบหรือดอกด้วยไอน้ำ 5-10 นาทีีแล้วแช่น้ำเย็น 10-15 นาที ก่อนนำไปสกัดสี แต่ถ้าไม่สะดวก ให้สับหรือตำใบ/ดอกให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปสกัดสี
- การเตรียมวัสดุจากผลและเมล็ด : ผลแห้ง ถ้ามีขนาดใหญ่ ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ถ้าผลมีขนาดเล็ก (ปิ้งขาว) บุบให้แหลกพอหยาบ ๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี สำหรับเมล็ดแกะเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเมล็ด (คำแสด) ออกมาแช่น้ำให้เปื่อย ผลสด (มะขามป้อม ลูกค้อ ลูกคนทา) บุบหรือตำพอหยาบ ๆ แช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี
หมายเหตุ : ผลสดบางชนิด สามารถดองน้ำเปล่าเก็บไว้ใช้ได้นอกฤดู เช่น มะข้ามป้อม ลูกค้อแก่ คนทา เป็นต้น
การสกัดสี
หลังจากเตรียมวัสดุให้สีไว้แล้วตามวิธีและเวลาที่ตั้งไว้สำหรับการสกัดสีแบบร้อน ให้นำวัสดุให้สีนั้น ๆ มาใส่หม้อสแตนเลสหรืออลูมิเนียม (หม้อเหล็กอาจมีผลต่อสีที่สกัดได้) เติมน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แต่อย่างน้อยต้องท่วมวัสดุให้สี ต้มเคี่ยวประมาณ 1-2 ชั่วโมง
1-2 ชั่วโมงไฟแรง สำหรับ แก่น เปลือก ราก เหง้าหรือจนได้สีที่ต้องการ
1 ชั่วโมง+ไฟอ่อน สำหรับใบ ดอก และผล/เมล็ดหรือจนได้สีที่ต้องการ
จากนั้นกรองเอากากออก เหลือแต่น้ำสี เพื่อนำไปย้อมเส้นด้ายต่อไป
นอกจากนี้ยังมี “การสกัดสีแบบเย็น” สำหรับชนิดพีชที่ให้ปริมาณเม็ดสีมากแม้สกัดในน้ำอุณหภูมิห้อง เช่น ขมิ้น คำแสด เป็นต้น ซึ่งบางชนิดก็ต้องใช้วัสดุให้สีในปริมาณที่มากพอสำหรับการย้อม
การย้อมผ้า
การเตรียมวัสดุให้สีจากธรรมชาติ วัสดุให้สีจธรรรมชาติ ทั้งจากพืช สัตว์ และอื่น ๆ นั้นก่อนนำไปสกัดสี จะต้องมีการเตรียมก่อนเพื่อให้วัสดุมีความพร้อม และให้สีเต็มที่เมื่อนำไปสกัด โยส่วนใหญ่ในพื้นที่งนิยมนำพืชมาสกัดสี โดยส่วนมากจะใช้เปลือก แก่น ราก หัวหรือเหง้า ดอก ใบ ผลและเมล็ด โดยในแต่ละส่วนมีการเตรียมที่แตกต่าง
- การเตรียมวัสดุจากแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือ เหง้า : สำหรับเนื้อไม้หรือแก่นไม้ ใช้มีตผ่าให้เป็นซี่เล็ก ๆ ขนาด นิ้วมือ หรือยิ่งเล็กยิ่งดี ส่วนเปลือก ราก หัว และเหง้าสับบ/ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือถ้ำไม่แข็งมากใช้ครกตำให้แหลก จากนั้นนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี
หมายเหตุ : บางสูตรบอกว่าแก่นไม้ เปลือก ราก หัว หรือเหง้า หลังตัดมาจากต้น ให้ผึ่งลมทิ้งไว้ 2-3 วันให้ยางฝาดแห้งก่อนนำไปเตรียมการสกัดสี จะทำให้ได้สีสันที่ดีขึ้น - การเตรียมวัสดุจากใบหรือดอก : นึ่งใบหรือดอกด้วยไอน้ำ 5-10 นาทีแล้วแช่น้ำเย็น 10-15 นาที ก่อนนำไปสกัดสี แต่ถ้าไม่สะดวก ให้สับหรือตำใบ/ดอกให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปสกัดสี
- การเตรียมวัสดุจากผลและเมล็ด : ผลแห้ง ถ้ามีขนาดใหญ่ ทุบให้แหลกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ถ้าผลมีขนาดเล็ก (ปิ้งขาว) บุบให้แหลกพอหยาบ ๆ แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี สำหรับเมล็ดแกะเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเมล็ด (คำแสด) ออกมาแช่น้ำให้เปื่อย ผลสด (มะขามป้อม ลูกค้อ ลูกคนทา) บุบหรือตำพอหยาบ ๆ แช่น้ำ 1 คืน ก่อนนำไปสกัดสี
หมายเหตุ : ผลสดบางชนิด สามารถดองน้ำเปล่าเก็บไว้ใช้ได้นอกฤดู เช่น มะข้ามป้อม ลูกค้อแก่ คนทา เป็นต้น
การสกัดสี หลังจากเตรียมวัสดุให้สีไว้แล้วตามวิธีและเวลาที่ตั้งไว้สำหรับการสกัดสีแบบร้อน ให้นำวัสดุให้สีนั้น ๆ มาใส่หม้อสแตนเลสหรืออลูมิเนียม (หม้อเหล็กอาจมีผลต่อสีที่สกัดได้) เติมน้ำตามปริมาณที่ต้องการ แต่อย่างน้อยต้องท่วมวัสดุให้สี ต้มเคี่ยวประมาณ 1-2 ชั่วโมง
1-2 ชั่วโมงไฟแรง สำหรับ แก่น เปลือก ราก เหง้าหรือจนได้สีที่ต้องการ
1 ชั่วโมง+ไฟอ่อน สำหรับใบ ดอก และผล/เมล็ดหรือจนได้สีที่ต้องการ
จากนั้นกรองเอากากออก เหลือแต่น้ำสี เพื่อนำไปย้อมเส้นด้ายต่อไป นอกจากนี้ยังมี “การสกัดสีแบบเย็น” สำหรับชนิดพีชที่ให้ปริมาณเม็ดสีมากแม้สกัดในน้ำอุณหภูมิห้อง เช่น ขมิ้น คำแสด เป็นต้น ซึ่งบางชนิดก็ต้องใช้วัสดุให้สีในปริมาณที่มากพอสำหรับการย้อม
การย้อมสีธรรมชาติ โดยทั่วไปวิธีการย้อมสีธรรมชาติ มี 3 วิธี คือ 1. การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) 2. การย้อมแบบแวตหรือการก่อหม้อย้อม (Vat Dyeing) และ 3. การย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant Dyeing) แต่ในที่นี้จะนำเสนอการย้อม 2 แบบ คือ การย้อมโดยตรง และการย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี ซึ่งเป็นธรรมชาติของการย้อมสีของคนบนพื้นที่สูงอย่างกลุ่มปกาเกอะญอและเลอเวีอะ
การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) : วัสดุให้สีจากรรมชาติบางชนิด มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกับเส้นใยได้ดีโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยติดสี ด้งนั้นจึงสามารถย้อมได้โดยกระบวนการ “ย้อมตรง ” ซึ่งสามารถย้อมได้ทั้งการ “ย้อมเย็น” คือการย้อมในน้ำสีที่สกัดไว้แล้วที่อุณหภูมิห้อง แต่ปกติเส้นใยจะดูดชับและติดสีได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 8 องศาเชลเชียส ซึ่งเรียกกว่าการ “ย้อมร้อน” ฉะนั้นสำหรับการย้อมสีที่ไม่ใช้สารช่วยติดสี แนะนำให้ย้อมด้วยกระบวนการย้อมร้อน โดยมีเทคนิควิธี ดังนี้
- นำน้ำสีที่สกัดไว้และกรองเรียบร้อยแล้วใส่หมอสแตนเลสหรืออลูมิเนียมขึ้นตั้งไฟ จนมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 65-80 องศาเซลเชียส ความร้อนจะช่วยให้เส้นด้ายพองตัว ทำให้เม็ดสีเคลื่อนที่เข้าไปในเส้นด้ายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น (การให้ความร้อนไม่จำเป็นต้องต้มจนน้ำสีเดือดก็ได้ เพราะอาจสิ้นเปลืองพลังาน และยังมีปัญหาจากการที่น้ำในหม้อระเหยน้ำแห้งจนต้องหมั่นเติมน้ำกลับลงไป ทำให้สีในน้ำย้อมมีความเข้มข้นไม่คงที่)
- นำเส้นด้ายฝ้ายในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำสี ใส่ในห่วงย้อมผ้า (1คู่) แล้วแซ่เส้นใยฝ้ายในน้ำสี ให้น้ำท่วมเส้นด้าย แช่ไว้ประมาณ 10 นาที
- ยกห่วงคล้องเส้นดยขึ้น ให้เส้นด้ายส่วนหนึ่งยังแช่ในน้ำสี โยกขยับเส้นด้ายส่วนที่อยู่ในน้ำสีขึ้นมาสัมผัสอากาศ และขยับอีกส่วนลงไปแซ่ในน้ำสี ทำเช่นนี้วน ๆ ไป สลับกับการพลิกกลับเส้นด้ายที่อยู่ด้านใน ออกมาด้านนอก เพื่อให้ส่วนต่าง ๆ ของเส้นด้ายได้ดูดชับเม็ดสีเข้าไปอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ การโยกเส้นดยขึ้นลงจะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีตกตะกอนนอนอยู่กันหม้อ ทำเช่นนี้ประมาณ 10 นาที แล้วแช่เส้นด้ายลงในน้ำสีทิ้งไว้อีกประมาณ10 นาที ทำสลับกับการโยกเส้นด้ายขึ้นลงในน้ำสี รอบละ 10 นาที หากไม่มีห่วงย้อมผ้า ให้ใช้ไม้พายคนและยกเส้นด้ายขึ้นลงกลับไปกลับมาเพื่อให้เม็ดสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายอย่างทั่วถึง หมั่นคนเพื่อไม่ให้สีตกตะกอนเพราะจะทำให้สีติดเส้นดยไสเสมอ สลับกับการแซ่เส้นด้ายไว้เฉย ๆ รอบละประมาณ 10 นาทีเช่นกัน
- ทำขั้นตอนที่ 3 สลับกันไปจนครบ 60-90 นาที หรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสี หรือได้เฉดสีที่พอใจ และมีสีสันสม่ำเสมอทั่วกัน
- บิดเส้นด้ายพอหมาด ๆ แล้วนำขึ้นตากในร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก โดยการคล้องในราวตาก และคอยขยับหมุนเส้นด้ายไม่ให้น้ำสีไหลมากองรวม ณ จุดเดียว เพราะจะทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ขยับจนเส้นต้ายแห้งหมาด ๆ จากนั้นจึงตากเส้นด้ายทิ้งไว้จนแห้งสนิท
- นำเส้นด้ายฝ้ายที่ทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วไปลงในน้ำสะอาดจนสีหลุดออกน้อยที่สุด บิดพอหมาดแล้วตากในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวกจนแห้งสนิท
- เก็บเส้นด้ายในที่ปลอดแสและอากาศถ่ายเทสะดวกไม่อับขึ้น ก่อนนำเส้นด้ายไปใช้งานต่อไป
พืชพรรณให้สี…บนพื้นที่สูง
ปัจจัยที่มีผลต่อการย้อมสีผ้าให้สีติดดี
วัสดุให้สี :
- วัสดุให้สีและพืชพรรณธรรมชาติชนิดที่แตกต่างไป ก็มีผลต่อความคงทนของสีที่แตกต่างกัน
- แหล่งกำเนิด ฤดูกาลที่แตกต่าง อายุของพีช ความอ่อนความแก่ ความสด/แห้งของวัสดุ เป็นปัจจัยที่ทำให้การสกัดสี ได้สีที่แตกต่างกัน และเมื่อย้อมก็มีความคงทนของสีที่แตกต่างกัน
เส้นไย :
- เส้นใยที่เรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ เม็ดสีจะซึมชับเข้าไปได้ง่าย แต่ถ้ำเรียงตัวกันอย่างแน่นหนา เม็ดสีจะซึมซับเข้าไปได้ยาก เช่น
- เส้นใยด้ายฝ้ายจากโรงงาน มีการเรียงตัวแน่นกว่าเส้นใยด้ายฝ้ายจากการปั่นมือ
- เส้นใยต่างชนิดกัน เช่น เส้นด้ายฝ้าย ซึ่งเป็นเส้นใยจากพืช ก็จะให้ผลที่แตกต่างกับเส้นไหมซึ่งเป็นเส้นใยจากสัตว์ การเลือกใช้วัสดุย้อมก็จะแตกต่างกันไป หรือหากใช้ชนิดเดียวกันก็จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน
ขนาดของเส้นใยก็มีผล เส้นใยเส้นเล็กเม็ดสีจะเข้าไปจับได้ทั่วถึงกว่าเส้นใยเส้นใหญ่
วิธีการย้อม :
- วิธีการย้อม ได้แก่ การเตรียมเส้นใย กรเตรียมวัสดุให้สี การสกัดสี ปริมาณความเข้มขันของสีและปริมาณของเส้นด้าย ระยะวลาที่ใช้ย้อม วิธีการย้อม อุณหภูมิและความดันที่ใช้ย้อม การซักล้างน้ำที่ใช้ชกล้าง ฯลฯ ล้นส่งผลถึงสีสันและความคงทนของสีบนเส้นด้าย
- สารช่วยย้อมที่แตกต่างกัน แม้จะมีความเป็นกรดหรือด่างเหมือนกัน ก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน รวมถึงขั้นของสารช่วยย้อมที่ใช้ ก็มีผลต่อความเข้ม/อ่อนของสี และความคงทนของสีที่
การดูแลรักษา :
- การดูแลรักษเส้นไหลังกรย้อม ความชื้น แส การพับ การบรรจุ ล้วนมีผลต่อสีสันบนผืนผ้า
ความเชื่อท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการย้อมผ้า
- ในช่วงที่มีประจำเดือนสตรีปกาเกอะญอ จะเว้นจากการย้อมสีธรรมชาติเพราะเชื่อว่าจะทำให้หมู่บนเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
- ในอดีต มีความเชื่อว่าแม่บ้านปกาเกอะญอ ที่กำลังตั้งครรภ์ห้ามทำการย้อมสีธรรมชาติ เพราะถึงย้อม สีก็จะไม่ติด
- พืชพรรณบางชนิดบางหมู่บ้านจะมีข้อห้ามไม่ให้ย้อมสีพืชชนิดนั้นในบริเวณชุมชน เช่น จะห้ามไม่ให้ย้อมห้อมในหมู่บ้านเพราะมีความเชื่อถือว่าจะทำให้คนในหมู่บ้านไม่สบาย สัตว์เลี้ยงจะเจ็บป่วยล้มตาย
- สตรีปกาเกอะญอบางครอบครัวถูกสอนมาว่าขณะที่ทำการย้อมฝ้ายสีธรรมชาติิ ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามพูดสิ่งที่ไม่ดีให้พูดกันเพราะ ๆ ให้พูดถึงแต่สิ่งที่ดีจะทำให้ฝ้ายย้อมได้สีที่สวย
การย้อมสีธรรมชาติ
โดยทั่วไปวิธีการย้อมสีธรรมชาติ มี 3 วิธี คือ
- การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing)
- การย้อมแบบแวต หรือการก่อหม้อย้อม (Vat Dyeing) และ 3. การย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี (Mordant Dyeing) แต่ในที่นี้จะนำเสนอการย้อม 2 แบบ คือ การย้อมโดยตรง และการย้อมโดยใช้สารช่วยติดสี ซึ่งเป็นธรรมชาติของการย้อมสีของคนบนพื้นที่สูงอย่างกลุ่มปกาเกอะญอและเลอเวีอะ
4.1 การย้อมโดยตรง (Direct Dyeing) : วัสดุให้สีจากรรมชาติบางชนิด มีคุณสมบัติในการยึดเกาะกับเส้นใยได้ดีโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยติดสี ด้งนั้นจึงสามารถย้อมได้โดยกระบวนการ “ย้อมตรง ” ซึ่งสามารถย้อมได้ทั้งการ “ย้อมเย็น” คือการย้อมในน้ำสีที่สกัดไว้แล้วที่อุณหภูมิห้อง แต่ปกติเส้นใยจะดูดชับและติดสีได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 8 องศาเชลเชียส ซึ่งเรียกกว่าการ “ย้อมร้อน” ฉะนั้นสำหรับการย้อมสีที่ไม่ใช้สารช่วยติดสี แนะนำให้ย้อมด้วยกระบวนการย้อมร้อน โดยมีเทคนิควิธี ดังนี้
- นำน้ำสีที่สกัดไว้และกรองเรียบร้อยแล้วใส่หมอสแตนเลสหรืออลูมิเนียมขึ้นตั้งไฟ จนมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 65-80 องศาเซลเชียส ความร้อนจะช่วยให้เส้นด้ายพองตัว ทำให้เม็ดสีเคลื่อนที่เข้าไปในเส้นด้ายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น (การให้ความร้อนไม่จำเป็นต้องต้มจนน้ำสีเดือดก็ได้ เพราะอาจสิ้นเปลืองพลังาน และยังมีปัญหาจากการที่น้ำในหม้อระเหยน้ำแห้งจนต้องหมั่นเติมน้ำกลับลงไป ทำให้สีในน้ำย้อมมีความเข้มข้นไม่คงที่)
- นำเส้นด้ายฝ้ายในปริมาณที่เหมาะสมกับปริมาณน้ำสี ใส่ในห่วงย้อมผ้า (1คู่) แล้วแซ่เส้นใยฝ้ายในน้ำสี ให้น้ำท่วมเส้นด้าย แช่ไว้ประมาณ 10 นาที
- ยกห่วงคล้องเส้นดยขึ้น ให้เส้นด้ายส่วนหนึ่งยังแช่ในน้ำสี โยกขยับเส้นด้ายส่วนที่อยู่ในน้ำสีขึ้นมาสัมผัสอากาศ และขยับอีกส่วนลงไปแซ่ในน้ำสี ทำเช่นนี้วน ๆ ไป สลับกับการพลิกกลับเส้นด้ายที่อยู่ด้านในออกมาด้านนอก เพื่อให้ส่วนต่าง ๆ ของเส้นด้ายได้ดูดชับเม็ดสีเข้าไปอย่างเต็มที่และสม่ำเสมอ การโยกเส้นดยขึ้นลงจะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีตกตะกอนนอนอยู่กันหม้อ ทำเช่นนี้ประมาณ 10 นาที แล้วแช่เส้นด้ายลงในน้ำสีทิ้งไว้อีกประมาณ10 นาที ทำสลับกับการโยกเส้นด้ายขึ้นลงในน้ำสี รอบละ 10 นาที หากไม่มีห่วงย้อมผ้า ให้ใช้ไม้พายคนและยกเส้นด้ายขึ้นลงกลับไปกลับมาเพื่อให้เม็ดสีแทรกซึมเข้าไปในเส้นด้ายอย่างทั่วถึง หมั่นคนเพื่อไม่ให้สีตกตะกอนเพราะจะทำให้สีติดเส้นดยไสเสมอ สลับกับการแซ่เส้นด้ายไว้เฉย ๆ รอบละประมาณ 10 นาทีเช่นกัน
- ทำขั้นตอนที่ 3 สลับกันไปจนครบ 60-90 นาที หรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสี หรือได้เฉดสีที่พอใจ และมีสีสันสม่ำเสมอทั่วกัน
- บิดเส้นด้ายพอหมาด ๆ แล้วนำขึ้นตากในร่มและอากาศถ่ายเทสะดวก โดยการคล้องในราวตาก และคอยขยับหมุนเส้นด้ายไม่ให้น้ำสีไหลมากองรวม ณ จุดเดียว เพราะจะทำให้สีไม่สม่ำเสมอ ขยับจนเส้นต้ายแห้งหมาด ๆ จากนั้นจึงตากเส้นด้ายทิ้งไว้จนแห้งสนิท
- นำเส้นด้ายฝ้ายที่ทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วไปลงในน้ำสะอาดจนสีหลุดออกน้อยที่สุด บิดพอหมาดแล้วตากในที่ร่มและอากาศถ่ายเทสะดวกจนแห้งสนิท
- เก็บเส้นด้ายในที่ปลอดแสและอากาศถ่ายเทสะดวกไม่อับขึ้น ก่อนนำเส้นด้ายไปใช้งานต่อไป
4.2 การย้อมโดยใช้สารช่วยย้อม (Mordant dyeing) การย้อมด้วยวิธีนี้เป็นการย้อมแบบใช้สารช่วยสีติดหรือสารช่วยย้อมเคมีหรือมอร์แดนท์ สารจะทำหน้ที่ช่วยให้การยึดติดเส้นใยกับสีย้อมได้ดีขึ้น มอร์แดนท์ที่ใช้ ได้แก่ สารละลายขอเกลือโลหะ เช่น สารส้ม (มอร์แดนท์อลูมิเนียม) เฟอรัสซัลเฟต (มอร์แดนท์เหล็ก) ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมี “สารช่วยย้อมธรรมชาติ” (มอร์แดนท์ธรรมชาติ) เช่น น้ำปูนใส น้ำขี้เถ้า น้ำบ่อบาดาล หรือน้ำสนิมเหล็ก น้ำโคลน น้ำมะขามเปียก น้ำส้มป่อย เป็นต้น ที่หาได้ไม่ยากจากธรรมชาตินอกจากสารช่วยย้อมแล้ว ยังมี “สารช่วยให้สีติด” เพื่อช่วยให้สีติดเส้นด้าย โดยสารดังกล่าวจะใช้ย้อมเส้นด้ายก่อนการย้อมสี หรือใช้ผสมในน้ำสีย้อม ประกอบด้วย
- สารฝาด หรือ แทนนิน สารแทนนินจะมีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชที่มีรสฝาดและขม เช่น ลูกหมาก เปลือกเพกาเปลือกสีเสียด เปลือกประดู่ ใบยูคาลิปตัส เป็นต้น น้ำมาใช้โดยการต้มสกัดน้ำฝาด หรือแทนนินจากพืชดังกล่าวแล้วนำเส้นดยต้มย้อมกับน้ำฝาดก่อน จากนั้นจึงนำเส้นด้ายไปย้อมกับน้ำสีอีกครั้ง
- โปรตีนจากน้ำถั่วเหลือง ใช้ต้มกับเส้นด้ายก่อนการย้อมสีีเพื่อช่วยในการเพิ่มโปรตีนบนเส้นด้าย
ทำให้สามารถย้อมสีติดได้ดีมากขึ้นโดยแช่ด้ายฝ้ายกับน้ำถั่วเหลือง 1 คืนก่อนนำไปย้อม ยิ่งทำให้สีติดมากขึ้นเกลือแกง จะใช้ผสมกับน้ำสีย้อมเพื่อช่วยให้สีติดเส้นด้ายได้ง่ายขึ้น
การเตรียมสารช่วยย้อม
สารช่วยย้อมธรรมชาติ หรือ มอร์แดนท์ธรรมชาติ
- น้ำโคลน : นำโคลนที่มีคุณสมบัติที่ดี ต้องเป็นโคลนใต้สระหรือบ่อที่มีน้ำขังตลอดปี หรือบนดอยจะมีโคลนที่เรียกว่า “ขี้เครื่องบิน” ผิวหน้าโคลนจะขึ้นสีเหลือ ตักมาใส่ในถัง โคลน 1 ส่วน ผสมน้ำ 1 ส่วนคนให้เข้ากัน แล้วทิ้งให้ตกตะกอน 1 คืน ตักเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้”
- น้ำขี้เถ้า : นำขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติดี (ไม้ชนิดต่าง ๆ จะให้ขี้เถ้าที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน) ต้องมีการเผาไหม้สมบูรณ์เป็นเถ้าสีขาวสีเทา นำขี้เถ้าใส่ในถัง เติมน้ำสะอาดให้ท่วมหรือตามปริมาณที่ต้องการกวนให้เข้ากัน แล้วทิ้งให้ตกตะกอน 1 คืน (หรือเจาะก้นถัง แล้วเทให้น้ำหยด) เอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้
- น้ำปูนใส : ได้จากปูนขาวที่ใช้กินกับหมาก หรือปูนขาวจากการเผาเปลือกหอย ฯลฯ โดยละลายปูนขาวในน้ำสะอาด ทิ้งไว้ให้ตกตะกอน ตักหรือกรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสไปใช้
- น้ำสนิมเหล็ก : นำเหล็กที่ขึ้นสนิม หรือผาตะเหล็ก/เศษเหล็กให้ร้อนเป็นเหล็กแดง แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3 วัน (ตากกลางแดดยิ่งดี) แล้วกรองเอาน้ำไปใช้”.
- น้ำมะขามเปียก / น้ำส้มปอย : นำมะขามปียหรือส้มปอย ต้มในน้ำสะอาดอัตราส่วนประมาณ 1 ต่อ 1 คั้นเอาน้ำไปใช้
- มอร์แดนท์เคมี : ละลายสารส้ม หรือ เฟอรัสซัลฟต” ในน้ำอุ่นให้ละลายหมด ก่อนนำไปผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วนที่ต้องการ ก่อนนำไปใช้
หมายเหตุ : ก่อนนำไปใช้ควรวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง (PH) ให้เหมาะสม ถ้าเข้มข้นเกินไปให้เติมน้ำเพื่อจาง
หมายเหตุ” : น้ำสนิมเหล็กและเฟอรัสชัลฟต หากใช้ปริมาณที่เข้มข้นเกินไป จะทำให้เส้นด้าย
การใช้มอร์แดนท์ในการช่วยย้อมสีธรรมชาติมี 4วิธี ได้แก่
วิธีที่ 1 การย้อมมอร์แดนท์ก่อนการย้อมสีนำเส้นด้ายที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วไปชุบหรือต้มย้อมกับมอร์แดนท์ก่อนนำไปย้อมด้วยน้ำย้อมสีธรรมชาติิตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4. 1วิธีการนี้ น้ำสีในหม้ออาจจะเปลี่ยนสีไปเพราะมอร์แดนท์ที่อยู่ในเส้นด้ายจะละลายออกมาผสมกับน้ำสีในหม้อเดียวกัน
วิธีที่ 2 การย้อมมอร์แดนท์พร้อมกับการย้อมสีทำโดยใส่มอร์แดนท์ (ที่เตรียมไว้) ลงไปผสมในน้ำสี
แล้วจึงนำเส้นด้ายลงไปย้อม ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4. 1 วิธีการนี้น้ำสีอาจจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม
เพราะถูกผสมด้วยมอร์แดนท์ในหม้อเดียวกัน
วิธีที่ 3 การย้อมมอร์แดนท์หลังการย้อมสีทำโดยนำเส้นด้ายลงไปย้อมน้ำสีก่อน(ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4.1)แล้วจึงนำเส้นด้ายที่ย้อมสีแล้วไปชุบหรือย้อมด้วยมอร์แดนท์ภายหลัง โดยขณะชุบย้อม
ต้องบีบนาคเส้นด้ายให้มอร์แดนท์ซึมชาบเข้าไปให้ทั่วถึง วิธีการนี้จะช่วยทำให้เส้นด้ายเกิดเฉดสีใหม่ขึ้น”นอกจากนี้วิธีการนี้ทำให้สามารถนำเส้นด้ายที่ย้อมสี(ชนิดเดียวกัน)แล้ว ไปสร้างสีสันใหม่กับมอร์แดนท์ที่แตกต่างกันออกไปได้ โดยที่น้ำสีในหม้อตั้งต้น สีไม่เปลี่ยนแปลงไป
หมายเหตุ : คุณสมบัติของมอร์แดนท์ นอกจากจะเป็นสารที่ช่วยในการยึดและจับสีแล้ว ในบางครั้งยังทำให้ได้เฉดสีใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
วิธีที่ 4 การย้อมมอร์แดนท์ตามลำดับพร้อมกับการย้อมสี วิธีการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสีสันในเฉดสีที่ต้องการโดยอาศัยคุณสมบัติของมอร์แดนท์แต่ละตัว (ซึ่งมีข้อจำกัดว่าหากผสมมอร์แดนท์ชนิดต่าง ๆ ลงไปในน้ำสีพร้อมกันจะไม่ได้เฉดสีที่ต้องการ ต้องผสมเป็นลำดับ)การย้อมด้วยวิธีการนี้ เริ่มต้นจากการย้อมเส้นด้าย ในน้ำสีโดยไม่ต้อผสมมอร์แดนท์ (วิธีที่ 2) โดยใช้เวลาย้อมประมาณ 15 นาที่ (เพื่อไม่ให้เส้นด้ายอิ่มสี) จากนั้นยกเส้นด้ายออกจากหม้อ เติมมอร์แดนท์ชนิดที่ 1 ลงไปผสมในหม้อน้ำสี จากนั้นนำเส้นด้ายลงไปย้อมอีกครั้งประมาณ 10-15 นาทีีจากนั้นยกเส้นด้ายยออกจากหม้ออีกครั้ง แล้วเติมมอร์แดนท์ชนิดที่ 2 ลงไปผสมในหม้อน้ำสี จากนั้นนำเส้นด้ายลงไปย้อมอีกครั้ง ประมาณ 10-15 นาที่ ทำไปเช่นนี้กับมอร์แดนท์ลำดับต่อ ๆ ไป จนกว่าจะได้เฉดสีที่พอใจหรือจนกว่าเส้นด้ายจะอิ่มสีจากนั้นนำเส้นด้ายไปตากและล้าง ตามกระบวนการย้อมที่กล่าวไว้ในข้อ 4.1
เคล็ดไม่ลับ : การผสมสี นอกจากเราจะใช้มอร์แดนท์หรือสารช่วยย้อมในการเปลี่ยนสีแล้วยังเคยทำการทดลองลายวิธีการ อาทิ 1) ผสมสีด้วยการนำน้ำสีต่างชนิดมาผสมในหม้อเดียวกันแล้วจึงทำการย้อมหลายอย่างไปด้วยกันได้และให้สีสันใหม่ ขณะที่บางอย่างก็ไม่เกิดผลที่นพอใจ
2) เมื่อย้อมเส้นด้ายด้วยสีหนึ่งเสร็จแล้ว ตากให้แห้ง จากนั้นนำมาย้อมอีกที่กับน้ำสีอีกชนิดหนึ่ง ก็จะได้สีสันที่แตกต่างกันออกไปการย้อมสีรรมชาติอาจมีทฤษฎี/หลักการเป็นแนวทาง แต่สัจธรรมของความเป็นธรรมชาติ คือความไม่แน่นอน ฉะนั้น การทดลองอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง ก็อาจทำให้เราได้ผลลัพธ์และสีสันใหม่ ๆ ได้เช่นกัน . .