ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.

วงศ์ : Acanthaceae

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : ทองพันชั่ง

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : หญ้ามันไก่ , ทองคันชั่ง (ภาคกลาง)

ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : หญ้าไก่ (ไทย) ,แปะเฮาะเล่งจือ (จีน-จีนแต้จิ๋ว) , หญ้ามันไก่ , ทองพันดุลย์ , ทองคันชั่ง (ภาคกลาง) , ผกาฮ้อมบก (สุรินทร์)

ลักษณะพืช : ทองพันชั่งเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมดรลำตันมักเป็นสีเหลี่ยม กิ่งและใบอ่อนมีขนปกคลุม รูปร่างใบเป็นรูปไข่ โคนใบและปลายใบแหลม ใบยาว 3-12 ซม. กว้าง 1-5 ซม. ก้านใบสั้น ดอกออกเป็นช่อตามซอกกิ่ง ดอกสีขาวผลขนาด 1 ซม. และมักมีขน ทองพันชั่งปลูกโดยการปักชำ ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบดินชุมขึ้นควรปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกทำได้โดยตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ปลิดใบทิ้งแล้วปักชำให้กิ่งเอียงเล็กน้อย คอยดูแลน้ำ และกำจัดวัชพืช

พื้นที่ที่พบ : มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร พบทั่วไปในประเทศเขตร้อนของภูมิภาค

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ดและนำกิ่งมาปักชำ

ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ ประโยชน์ : ใบรสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ ราก ป่นละเอียด แซ่เหล้า 7 วัน ทาแก้กลากเกลื่อนผื่นค้น

วิธีใช้

ใบสดหรือรากสดหรือแห้งของทองพ้นชั่ง ใช้รักษากลากเกลื่อน โดยใช้ใบหรือราก (จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำให้ละเอียด แซ่เหล้าหรือแอลกอฮอล์พอท่วมยาและทิ้งไว้ 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ หรือวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วหาต่ออีก 7 วัน

 

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง :

หมายเหตุ : ไม่พบการรายงานการศึกษาทางเคมีและเภสัชวิทยา ส่วนกองวิจัยทางแพทย์

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศึกษาพิษเฉียบพลันแล้วพบว่าไม่มีพิษ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1).  (2537).  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. คุณวัชรี ชัยชมภู