หญ้าแพรก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynodon dactylon (L.) Pers.

วงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : หญ้าแพรก Bermuda grass, Bahana grass, Creeping-cynodon, Dub grass, Dog’s tooth grass, Florida grass, Scutch grass, Lawn grass, Wire grass

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง)หญ้าแพรก

ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ทิซั่วเช่า (จีน), สทฺทล (สัด-ทะ-ละ) , สทฺทโล (สัด-ทะ-โล) , หริต (หะ-ริ-ตะ)

ลักษณะพืช : พรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร

พื้นที่ที่พบ : มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรปหญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร

การขยายพันธุ์    :  ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ (เช่น ต้ม บด) ทั้งต้นมีรสขม ชุ่มเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาแก้ลมชัก ตรากตรำทำงานหนัก ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว รวมถึงเหือดหัด และอีสุกอีใสใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ตกโลหิตระดูมากเกินไปของสตรี

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง  :   –

หมายเหตุ  :   –

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :  คุณวัชรี ชัยชมภู