พญายอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clinacanthus nutans (Burm.) Lindau.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : พญายอ

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : พญายอ

ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ(ลำปาง) พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง) และพญายอ(แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะพืช : เสลดพังพอนตัวเมียเป็นไม้พุ่มแกมเลื้อยเถาและใบเชียว ไม่มีหนามปลายแหลม ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ดอกออกเป็นซ่อนอยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยก สีแดงอมส้ม พญายอปลูกโดยใช้ลำตันปักชำ เป็นตันไม้ที่ปลูกง่าย ตัดกิ่ง 1-2 คืบ ปักชำให้ออกรากดีแล้วย้ายลงปลูกในแปลงดูแลรักษาเช่นเดียวกับพืชทั่วไป

พื้นที่ที่พบ :

การขยายพันธุ์ :

ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ :

ใบ : นำมารักษาอาการอักเสบ ถอนพิษ รักษาแผลร้อนในในปาก เริม งูสวัด
ราก : ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดู แก้ปวดเมื่อยบั้นเอว

วิธีใช้  ใบพญายอรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้)จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงปองผึ้ง ต่อแตน เป็นตัน โดยเอาในสด 10-15 ใบ(มากน้อยตามบริเวณที่เป็น) ล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าชาวพอชุ่มยา ใช้น้ำและกากกพอกบริเวณที่บวมหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ให้ทาซ้ำบ่อย ๆ จนกว่าจะหาย

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง :

หมายเหตุ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ : ใบของพญายอประกอบด้วยสาร Lupeol, 8-Sitosterol,Stigmasterol และมีการทดลองพบว่าสารสกัดด้วยสารละลายบิวทานอล (butan) จากใบพญายอสามารถระงับอาการอักเสบได้ และศึกษาพบว่าสาระสำคัญชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์คือสารประกอบฟลาโวนอยต์(Flavonoid)

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1 ).  (2537).  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คุณวัชรี ชัยชมภู