ผักโขม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea

วงศ์ : AMARANTHACEAE

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) :  ผักโขม Amaranth

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) :

ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะพืช ไม้พุ่มเตี้ยและเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูง 30-100 ซม.

พื้นที่ที่พบ   :  ผักโขมเป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง สวนผักผลไม้ของชาวไร่ชาวนา

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ (เช่น ต้ม บด) : ทางอาหาร – ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม,ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกเช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกงเช่น แกงเลียง[2][4] ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดีทางยา – ทั้งต้น ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง ใบสด รักษาแผลพุพอง ต้น แก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ ราก ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง :

หมายเหตุ  : –

แหล่งข้อมูลอ้างอิง  : คุณวัชรี ชัยชมพู