ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : ผักกาดน้ำ
ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : หญ้าเอ็นยืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plantago major L.
วงศ์ : Plantaginaceae
ชื่อสมุนไพร (ชื่ออื่น ๆ) : หญ้าเอ็นยืด(อีสาน เหนือ ไทยใหญ่) ชีแต่เช้า เซียเช้า หมอน้อย
ลักษณะพืช : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก
พื้นที่ที่พบ : ขึ้นตามที่ชื้นแฉะทั่ว ๆ ไป
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถปลูกได้หลายภูมิภาค
วิธีการใช้ประโยชน์ : ต้ม ตำ บด กินดิบได้
ประโยชน์ทางยา :
- กำจัดพิษออกจากร่างก่าย
- แก้กามโรค
- แก้ข้อเท้าเพลง แมลงสัตว์กัดต่อย
- แก้ร้อนใน
- แก้โรคติดเชื้อทางผิวหนัง
- แก้อักเสบ
- แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
- รักษาอาการหลอดลมอักเสพ
- รักษาอาการไอ
- รักษาโรคนิ่ว
- ลดอาการปวด เส้นเอน กระดูก ข้อ
- หนองใน
- ยาระบายอ่อนๆ
- ยาขับปัสสาวะ
ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : –
ผักกาดน้ำ ผักพื้นบ้านไทย สมุนไพรในสากล
ผักกาดน้ำขึ้นอยู่ในที่ขึ้นทั่ว ๆ ไป พบได้ในหลายประเทศทั้งจีน ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย เรียกว่าเกือบหมดทั้งโลก ยกเว้นในเขตหนาวเท่านั้นกระมัง ที่ไม่มีผักกาดน้ำ ในเมืองไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค คนในแถบภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ หลายพื้นที่กินผักกาดน้ำเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก ผักกาดน้ำอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี วิตามิซี และโอสถสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ช่วยกำจัดพิษออกจากร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ โดยจะกินช่อดอกอ่อน ๆ ใบอ่อนๆ (ต้องรีบเก็บตอนที่เป็นใบอ่อนจริง ๆ เพราะใบผักกาดน้ำแก่เร็ว) แต่ในระยะหลังๆ ไม่ค่อยพบผักกาดน้ำในธรรมชาติบ่อยนัก ส่วนคนที่รู้จักกินผักกาดน้ำเป็นผักมีจำนวนน้อยลงมาก วัฒนธรรมการกินผักกาดน้ำเป็นผักนี้เป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั้งโลกที่มีเจ้าตันผักกาดน้ำขึ้นอยู่ มีทั้งกินเป็นผักสด ๆ และนำไปปรุงสุก นอกจากกินเป็นผักแล้ว ยังใช้ผักกาดน้ำในการักษาโรคหลายชนิดกันอย่างกว้างขวางมายาวนานนับพันปี ถือเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงชนิดหนึ่ง และได้รับการยอมรับในการใช้เป็นสมุนไพรในเภสัชตำรับของเยอรมัน (German Commission E) สำหรับรักษาอาการไอและหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อ และใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบ แทบจะกล่าวได้ผักดาดน้ำเป็นสมุนไพรที่มีการนำไปใช้และศึกษาวิจัยกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง แต่ผักกาดน้ำก็เช่นเดียวกับเพื่อน ๆ ผักหญ้าสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ไม่มีหน่วยงานไหนมาส่งเสริมสนับสนุนให้คนใช้กันมากนัก ผักกาดน้ำจึงนับวันแต่จะหายไปไม่ว่าจะใช้เป็นผักหรือใช้เป็นยาก็ตาม
ผักกาดน้ำ ยาขับปัสสาวะที่ศึกษาเภสัชศาสตร์รู้จักดี
ครั้งแรกที่รู้ว่าผักกาดน้ำเป็นยา ก็ครั้งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในวิชาพฤกษศาสตร์อันเป็นวิชาที่เหมือนฝันร้ายของเภสัชกรหลายคน รวมถึงคนจบการศึกษาออกมาแล้วเพราะอาจารย์ที่สอนวิชานี้ไม่ว่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยไหน ต่างมีพฤติกรรมการออกข้อสอบคล้ายๆ กันคือ ชอบไปเอาต้นสมุนไพรที่ผิดปกติมาออกข้อสอบ ตันสมุนไพรที่ทุกคนเห็นและจำได้ทันที่อย่างผักกาดน้ำไม่มีทางได้เป็นข้อสอบ เพราะผักกาดน้ำเป็นสมุนไพรพื้น ๆ ที่เภสัชกรแทบทุกคนจำได้ว่ามันมีสรรพคุณ
“ขับปัสสาวะ” เป็นสรรพคุณติดป้ายแน่นหนามากับผักกาดน้ำที่ไม่ใช่เพียงเภสัชกรเท่านั้นที่รู้กันดีแต่หมอแผนไทยทุกคน จนถึงหมอยาพื้นบ้านไทยในทุกภาค หมอยาจีน คนขายสมุนไพรในร้านขายวัตถุดิบสมุนไพรต่างก็มีความรู้นี้อย่างแน่นหนาเช่นกันโดยหมอยาทั้งหลายจะใช้ทั้งต้น ก้านใบ ต้มน้ำรับประทานเป็นยาแก้นิ่ว แก้ซ้ำรั่ว (ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย) แก้หนองในขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน (ในน้ำจับเลี้ยงแก้ร้อนในที่ขายกันอย่างแพร่หลายนั้นมีผักกาดน้ำผสมอยู่ด้วย) ซึ่งการศึกษาทางเภสัชวิทยาสมัยใหม่พบว่าผักกาดน้ำมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ละลายก้อนนิ่วในไตลดความดันโลหิต ซึ่งสนับสนุนการใช้ของหมอยาไทยและหมอยาจีน
ผักกาดน้ำ ยารักษาเอ็น รักษากระดูก
การใช้ผักกาดน้ำในการเป็นยารักษาอาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อ อาการปวดตึงที่คอ หลัง เอว แขน ขา การหกล้มฟกซ้ำ ข้อเท้าแพลง จนเดินเขยกหรือเดินไม่ได้ รวมไปถึงการรักษาอาการกระดูกหัก กระดูกแตกนั้น ได้รู้เมื่อไปตามเก็บความรู้กับหมอยาไทยใหญ่ ซึ่งความรู้ในการใช้ ผักกาดน้ำหรือที่ไทยใหญ่เรียกว่า “หญ้าเอ็นยืด” นั้น (ไทยใหญ่มักเรียกชื่อสมุนไพรตามสรรพคุณทางยาเป็นส่วนใหญ่) แม้แต่เด็ก ๆ ก็รู้ว่าหญ้าเอ็นยืดมีสรรพคุณในการรักษาเอ็นรักษากระดูก ดังนั้นเวลาหกล้มขอเท้าแพลงเด็กไทยใหญ่จะไปเก็บหญ้าเอ็นยืดมาทุบๆ ให้น้ำออกแล้วพอกบริเวณที่ข้อเท้าแพลงนั้น เชื่อว่าหญ้าเอ็นยึดจะทำให้เส้นเอ็นคลายตัวบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ นอกจากคนไทยใหญ่แล้ววัฒนธรรมการใช้หญ้าเอ็นยืดรักษาอาการเคล็ดขัดยอกนี้ยังเป็นที่แพร่หลายในบรรดาหมอเมือง ชาวล้านนาทั้งหลายด้วย โดยลูกประคบหรือยาจู้ของหมอเมืองนอกเหนือไปจากไพลและขมิ้นเหมือนลูกประคบทั่ว ๆ ไปแล้วยังมีสมุนไพรหลักตัวหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ “หญ้าเอ็นยืด”นอกจากจะใช้เป็นยาแก้อาการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อแล้ว หมอยาไทยใหญ่ยังใช้หญ้าเอ็นยืดเป็นยารักษากระดูกหัก กระดูกแตก โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นเช่น หญ้าตึ๊ดสืบ (หญ้าถอดปล้อง) ตะไคร้ บอระเพ็ด เครือป๊กตอ (เถาวัลย์ปูน) เป็นตัน การใช้ผักกาดน้ำในการรักษาอาการเคล็ดขัดยอก กระดูกหักกระดูกแตกนี้ มิใช่เฉพาะหมอเมืองและหมอยาไทยใหญ่เท่านั้นที่ใช้กัน หมอยาพื้นบ้านในหลายประเทศ ต่างก็ใช้ผักกาดน้ำในสรรพคุณนี้อย่างทั่วถึงโดยมีการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับแล้วว่า ผักกาดน้ำมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการักษาบาดแผลจากการที่ทำให้เลือดหยุดไหลและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ ทั้งยังช่วยลดการอักเสบลดการซึมผ่านของหลอดเลือดฝอย (ช่วยลดอาการบวม) อีกด้วย
ผักกาดน้ำ ยารักษาโรคผิวหนัง
หมอยาพื้นบ้านไทยยังนิยมใช้ผักกาดน้ำเป็นยารักษาอาการคันจากการถูกต้นตำแย ใช้แก้พิษเนื่องจากผึ้งต่อยหรือแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง โดยการตำใบของผักกาดน้ำพอกบริเวณที่มีอาการแล้วเปลี่ยนยาบ่อย ๆ เชื่อว่าการใช้ผักกาดน้ำรักษาแผลจะทำให้ไม่เกิดแผลเป็นซึ่งพออธิบายได้ว่าเนื่องจากผักกาดน้ำมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและลดอาการแพ้
ตัวอย่างตำรับยา
ตำรับยาแก้นิ่ว : ต้นผักกาดน้ำสุด 30 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ลิตร กรองให้ได้น้ำยาประมาณ 750 มิลลิลิตร ให้คนไข้ดื่มหมดใน วันติดต่อกัน 2 วัน ถ้านิไม่หลุด ให้ดื่มซ้ำอีกทุกอาทิตย์
ตำรับยา แก้ไอและหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อ : ใบผักกาดน้ำแห้ง 1-3 กรัม ชงน้ำร้อน แก้ว(250 มิลลิลิตร) 0-15 นาที่ กินวันละ 3 ครั้ง
ตำรับยาขับปัสสาวะ ลดบวม : ผักกาดน้ำทั้งห้า แห้ง 20-40 กรัม ต้มกิน
ตำรับยาแก้ร้อนใน : ผักกาดน้ำแห้งหรือสดก็ได้ประมาณ กำมือ ต้มกับน้ำตาลประมาณ ลิตร กินแก้ร้อนในและเจ็บคอ
ตำรับแก้ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอกแมลงสัตว์กัดต่อย : ตำใบสดของผักกาดน้ำจนมีน้ำออกมาใช้น้ำทาบริเวณที่เป็น และใช้กากพอกทิ้งไว้ เปลี่ยนยาวันละ 3-4 ครั้ง
ข้อมูลอ้างอิง สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556). ผักกาดน้ำผักพื้นบ้านไทยสมุนไพรในสากล ผักกาดน้ำยาขับปัสสาวะที่ศึกษาเภสัชศาสตร์รู้จักดี ผักกาดน้ำยารักษาเอ็นรักษากระดูก ผักกาดน้ำ ยารักษาโรคผิวหนัง และตัวอย่างตำรับยา. ใน สุภาภรณ์ ปิติพร (บ.ก.), บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้ายาสมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). (น. 58 -61 ). กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์.
คุณวัชรี ชัยชมภู