ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : แห้วหมู
ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : แห้วหมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus Linn.
วงศ์ : Cyperaceae
ชื่อสมุนไพร (ชื่ออื่น ๆ) : หญ้าขนหมู หญ้าแห้วหมู หัวแห้วหมู หญ้ามะนิ่วหมู
ลักษณะพืช : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัวกลม
พื้นที่ที่พบ : ขึ้นตามที่ทั่ว ๆ ไป
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถปลูกได้หลายภูมิภาค
วิธีการใช้ประโยชน์ : ต้ม ตำ บด
ประโยชน์ทางยา :
- แก้ประจำเดือนมาผิดปกติ
- แก้ร้อนใน
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ
- แก้แพ้
- ขับกรดยูริออกทางปัสสาวะ
- ขับประจำเดือน
- ขับปัสสาวะ
- ขับลม
- ขับพยาธิ
- ไข้หวัดใหญ่
- ไข้หวัด
- คอแห้ง
- ช่วยให้การเผาผลาญไขมันดีขึ้น
- ช่วยย่อยอาหาร
- ยากระตุ้น
- ระงับหอบหืด
- ระงับหอบหืด
- โรคหวดคัดน้ำจมูก
- โรคเก้าท์
- ลดความดัน
- ลดอาการตับอักเสบ
- ลดการปวดเกร็งในลำไส้
การรักษา : –
ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : –
แห้วหมูเป็นสมุนไพรที่มีรายงานว่าเป็นหญ้ากระจายในหลายประเทศมากที่สุดดังนั้นไม่น่าแปลกในที่มีประสบการณ์ของชาวบ้านหลายชาติสั่งสมการใช้หญ้าแห้วหมูเป็นยาไว้มากมายปัจจุบันมีตำราของฝรั่ง แนะนำให้ใช้รากแห้หมูแห้ง 3-9 กรัม ต้มน้ำกินหรือบรรจุใส่แคปซูลกินเพื่อรักษาโรคหวัดคัดน้ำมูกไข้หวัดใหญ่ อาการปวดเกร็งในท้อง รวมทั้งปวดประจำเดือน อาการประจำเดือนไม่ปกติเป็นยาช่วยขับประจำเดือน และใช้รักษาอาการซึมเศร้าแห้วหมูมีรสเผ็ด ขม หวาน และอุ่น ในตำราจีนจะช่วยทำให้ซี่ (ชี่นั้นคนจีนถือเป็นพลังของชีวิต) เป็นปกติ จึงช่วยในการย่อย อาหาร ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมอาหารไปใช้ไต้อย่างเต็มที่ ทั้งยังช่วยให้อารมณ์เป็นปกติโดยปกติแล้วคนจีนจะใช้แห้วหมูต้มกินรักษาโรคหวัด ทั้งหวัดธรรมตาและไข้หวัดใหญ่ ใช้รักษาอาการที่มีเสมหะคั่งแน่นในโพรงจมูกหายใจไม่ออก ใช้ช่วยย่อยอาหารและประจำเดือนไม่ปกติอินเดียดูเหมือนจะเป็นจ้าวตำรับในการใช้ประโยชน์จากแห้วหมูโดยจะใช้ประโยชน์จากทั้งลำต้น ราก และเหง้า ที่นิยมใช้ ได้แก่ ลำต้นแห้วหมูแห้ง ใช้ต้มน้ำกิน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้คอแห้ง ใช้ต้มกินแก้ท้องเสีย กระตุ้นกำหนัด เหง้าแห้วหมูแห้ง ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาขับประจำเตือน ขับพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร ขับลม เป็นยากระตุ้น และช่วยให้การเผาผลาญไขมันดีขึ้น ทั้งต้นของแห้วหมูแห้งใช้ต้มน้ำกินแก้ไข้นอกจากนี้ในอินเตียยังใช้แห้วหมูผสมสมุนไพรตัวอื่นในการรักษาโรคพิษสุราเรื้อรังในประเทศอื่น ๆ การใช้ประโยชน์จากแห้วหมูก็คล้ายๆที่กล่าวมาเช่นในญี่ปุ่นยุโรป อินโดนีเซีย เกาหลี ศรีลังกา เนปาล ก็ใช้ในการขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร ส่วนในเขมรและไต้หวัน มีการใช้แห้วหมูนอกเหนือไปจากนี้บ้างคือ ใช้ในการรักษาโรคตับ และในเปอร์โตริโกมีการใช้แห้วหมูทั้งตันต้มกินขับนิ่วในไต ข้อมูลการศึกษาวิจัยในปัจจุบันก็พบสรรพคุณหลายอย่างที่สนับสนุน ยืนยันการใช้ของชาวบ้านเหล่านั้นคือ แห้วหมูมีฤทธิ์ระงับหอบหืด มีฤทธิ์แก้แพ้ มีฤทธิ์กล่อมประสาท มีฤทธิ์ลดความตันโลหิต มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ช่วยขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของโรคเก๊าท์ มีฤทธิ์ลดการปวดเกร็งในลำไส้ มีฤทธิ์แก้นิ่วกรดในทางเดินปัสสาวะมีฤทธิ์ป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษคนไทยยังมีความเชื่อว่าแห้วหมูเป็นยาชูกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ มีสรรพคุณใน การแก้ไข้และช่วยกำจัดพิษเห็นได้จากหนังสือตำรายาพิเศษของ สมเต็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (2352-2453) “นิทานหนึ่งนั้นว่า สมภารฉันแห้วหมูเป็นยา เคี้ยวกินทุกวัน ฉันกับน้ำชา หลายปีล่วงมา เห็นคุณหลายประการนั่ง ทนทำกิจประกอบการงานพากเพียรเขียนอ่านได้ทั้งคืนวันฟันแน่นไม่หัก เปนศุขขบฉัน ร่างกายเธอนั้น ไม่แก่ชราพี่น้องแก่ไป ท่านผู้นั้นไซร้ ผ่องใสผิดตา เปล่งปลั่งดังหนุ่ม เบาบางโรคา ผู้อ่อนพรรษา ดูแก่กว่าไป กำลังเจริญมาก เดินคล่องว่องไวจักษุสว่างใส ไม่มืดตามกาล อายุล่วงมากแต่ไม่พิการ กิจในวิหาร หมั่นทำทั่วไป ฯ ” ในการใช้แห้วหมูเป็นยาจะต้มกินหัวสดประมาณ 15 กรัม นำมาทุบให้แตกต้มเอาน้ำกินเป็นยาอายุวัฒนะ แกอาการปวดแน่นหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้ท้องอึดอาหารไม่ย่อย บำรุงครรภ์ แก้อาเจียน หรือจะใช้การตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำผสมน้ำผึ้งกินก็ได้ ส่วนคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แนะนำให้ใช้น้ำสิบส่วนตัวยาแห้วหมูหนึ่งส่วนต้มหรือชงดื่มก็ได้ส่วนการใช้ในตำรารักษาหอบหืดจะใช้ร่วมกับฝางเสนและสมุนไพรตัวอื่นเป็นตำรับคือ แก่นฝางเสน หนัก 2 บาท 2 สลึง แก่น แสมสาร หนัก 6 บาท 2 สลึง เถาวัลย์เปรียงหนัก 2 บาท 2 สลึง ใบมะคำไก่ หนัก 2 บาท 2 สลึง หัวแห้วหมูหนัก 2 บาท ใส่น้ำพอท่วมยาต้มกินต่างน้ำจนยาจืด (ประมาณ 5 วัน)ต้องกินประมาณ 1 เดือน อาการหอบหืดจึงจะดีขึ้นส่วนอีกตำราที่เข้าแห้วหมู คือ เอาเมล็ดข่อย พริกไทย บอระเพ็ด แห้วหมูเปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ตำผงละลายน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าผลพุทราไทย กินเวลาจะนอน แก้เอยขบ ปวดหลัง ปวดตามข้อ ขับปัสสาวะ
ข้อมูลอ้างอิง สุภาภรณ์ ปิติพร. (2547). แห้วหมูเป็นสมุนไพรที่มีรายงานว่าเป็นหญ้ากระจายในหลายประเทศมากที่สุด.ใน สุภาภรณ์ ปิติพร (บ.ก.), สมุนไพรอภัยภูเบศรการต่อสู้ของภูมิปัญญาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3) .(น. 92-93 ). กรุงเทพฯ: บริษัทปรมัตถ์การพิมพ์จำกัด.
คุณวัชรี ชัยชมพู