เสลดพังพอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria lupulina Lindl.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) :  เสลดพังพอน

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง)ชองระอา พิมเสนต้น (กลาง) เช็กเซเกี่ยม (จีน)เสลดพังพอนตัวผู้

ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : เสลดพังพอนตัวผู้ พิมเสนต้น ทองระอา  ช้องระอา  ลิ้นงูเห่า  (ภาคกลาง กรุงเทพ) ก้านชั่ว ค้นชั่ว (ตาก) เช็กเชเกี่ยม ฮวยเฮียะ แกโตว่เกียง (จีน)

ลักษณะพืช : เสลดพังพอนเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสีน้ำตาลแดง มีหนามตามข้อ ใบยาวเรียว ปลายแหลม มีเส้นกลางใบสีแดงดอกสีเหลืองจำปาออกเป็นช่อ เสลดพังพอนปลูกโดยใช้วิธีตัดคลำตันปักชำ ตัดท่อนพันธุ์เป็นท่อน ยาวท่อนละ 1-2 คืบ ปักชำในแปลงที่เตรียมไว้ หรือปักชำในที่ซุ่มชื้นก่อน เมื่อออกรากดีแล้วจึงย้ายไปปลูกในแปลง เวลาปลูกใหม่ๆรดน้ำ เช้า-เย็น สนใจกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชด้วย

พื้นที่ที่พบ : มีถิ่นกำเนิดในสาธารณรัฐมอริเชียสซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งแอฟริกาในมหาสมุทรอินเดียแล้วมีการกระจายพันธุ์ไปยังบริเวณประเทศใกล้เคียง และยังมีการนำเข้ามาใช้ประโยชน์และปลุกยังดินแดงเขตร้อนต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย ส่วนในประเทศไทยนั้นสามารถพบเสลดพังพอนได้ทุกภาคของประเทศ

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด และการปักชำ

ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ (เช่น ต้ม บด)  : ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม ส่วนกากเอามาพอกหรือทาเป็นยาแก้ลมพิษ รักษาเม็ดผื่นคันตามผิวหนัง แก้ไฟลามทุ่ง แก้ขยุ้มตีนหมา แก้โรคเริม แก้เริมบริเวณผิวหนัง งูสวัด ช่วยถอนพิษจากเม็ดตุ่มฝีดาษ รักษาโรคฝีดาษ แก้ฝีที่ฝ่ามือ แก้แผลกลาย เป็นยาถอนพิษ แก้พิษงูกัด พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

 วิธีใช้ : ใบสดของเสลดพังพอนรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อยโดยเอาใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น หรือตำผสมเหล้าหรือแอลกอฮอล์เช็ดแผลเล็กน้อยก็ได้

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง  –

หมายเหตุ :  ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใบสุดประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิดคือ 6-0-acety shanzhiside methyester, acetylbarlerin, barlerin, bataine, betaine hydrochloride, shanzhiside methylester การทดลองทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัด irdoid 4 ชนิด จากเสลดพังพอนสามารถลดการอักเสบได้ ดังนั้นจึงมีผลต่อการรักษาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้

แหล่งข้อมูลอ้างอิง  : ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1).  (2537).  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. คุณวัชรี ชัยชมภู