ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens (Roxb.) Benth.
วงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : เถาวัลย์เปรียง
ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : –
ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่), เครือตับปลา (เลย), เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก (หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ (หากเกิดในที่ลุ่ม) (ภาคอีสาน), เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง), ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้)
ลักษณะพืช : ไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน
พื้นที่ที่พบ : พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด
การขยายพันธุ์ : วิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี
ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ (เช่น ต้ม บด) : เถาขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟ ชงน้ำกินแก้ปวดเมื่อย รากเป็นยา
ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : –
หมายเหตุ : –
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ไม้ใบให้คุณสมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่..). (ปีที่พิมพ์). (น. 40 ) ). สถานที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์. (ข้อมูลในหนังสือไม่มี) คุณวัชรี ชัยชมภู