ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
วงศ์ : MORACEAE
ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : ข่อย
ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : –
ชื่อสมุนไพร(ชื่ออื่น ๆ) : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย
ลักษณะพืช : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 5-10 เมตร ข่อยเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบจะเล็ก
หนาและแข็ง จับดูจะรู้สึกสากมือ ขอบใบหยัก ดอกตัวผู้จะรวมกันเป็นช่อดอกแบบหัวกลมก้านดอกสั้น มีสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบจะขาว ส่วนดอกตัวเมีย ก้นดอกยาวและมักจะออกเป็นคู่สีเขียวผลรูปร่างกลม ผลสุกจะสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกจะนิ่มและฉ่ำน้ำ ส่วนเมล็ดจะเกือบกลม คล้ายเมล็ดพริกไทย
พื้นที่ที่พบ : –
การขยายพันธุ์ : –
ประโยชน์ทางสมุนไพรและ วิธีการใช้ประโยชน์ : ทั้งต้น ต้มใส่เกลือ แก้ฟันผุ กระพี้ รสเมาฝาดขม แก้พยาธิ แก้มะเร็ง ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ผื่นคัน เยื่อหุ้มกระพี้ รสเมาฝาดเย็น ขูดเอามาใช้ทำยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก
วิธีใช้ : เปลือกข่อยรักษาอาการปวดฟัน โดยใช้เปลือกต้นสดขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้น ต้มกับน้ำพอควร และใส่เกลือให้มีรสเค็ม ต้มนาน 10-15 นาที เอาน้ำขณะที่ยังอุ่น อมบ่อย ๆ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ :
วิธีใช้ : เปลือกข่อยรักษาอาการปวดฟัน โดยใช้เปลือกต้นสดขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้น ต้มกับน้ำพอควร และใส่เกลือให้มีรสเค็ม ต้มนาน 10-15 นาที เอาน้ำขณะที่ยังอุ่น อมบ่อย ๆ
ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : –
หมายเหตุ : –
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). (2537). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
คุณวัชรี ชัยชมภู