ผักกระสัง

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : ผักกระสัง

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : กะสัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peperomia pellucida Korth

วงศ์ : Plperaceae

ชื่อสมุนไพร (ชื่ออื่น ๆ) : ชากรูด ตาฉี่โพ ผักกูด ผักราชวงศ์ ผักสังเขา ผักฮากกล้วย บิเยาอีเตะ

ลักษณะพืช : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นเปราะหักง่าย

พื้นที่ที่พบ : ขึ้นตามที่ชื้นทั่ว ๆ ไป

การขยายพันธุ์ : ขยายพันด้วยเมล็ด สามารถปลูกได้หลายภูมิภาค

วิธีการใช้ประโยชน์ : ต้ม ตำ บด กินดิบได้

ประโยชน์ทางยา : 

  • กำจัดพิษออกจากร่างก่าย
  • แก้ปวดท้องธรรมดา
  • แก้ปวดท้องเกร็ง
  • แก้ปวดหัว
  • แก้ฝี
  • แก้อาการอ่อนเพลีย
  • แก้อักเสบ
  • ขับปัสสาวะ
  • ข้ออักเสบ
  • เจริญอาหาร
  • ต้านโรคมะเร็ง
  • บำรุงผม
  • บำรุงผิวพรรณ
  • ปวดรูมาติก
  • รักษาอีสุกอีใส
  • รักษาแผลไหม้น้ำร้อนลวก
  • รักษาไข้
  • รักษามะเร็งเต้านม
  • รักษาเริม
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • โรคเก้าท์
  • โรคลักปิดลักเปิด
  • ห้ามเลือด

การรักษา : ต้องใช้ส่วนเหนือดินโปะแผล

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : คนที่แพ้พืชที่มีกลิ่น ไม่ควรกิน

 

เรื่องของผักกะสัง ผักอินทรีย์ที่ชาวบ้านดงบังฟื้นฟู

               สมัยเด็ก ๆ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยกินผักกะสังกับน้ำพริก บางที่ก็ลวกกิน บางที่ก็กินสดๆ แต่สิ่งที่ทำให้จำผักกระสังได้อย่างแม่นยำคือ ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ชั้นประถมจำได้ว่าคุณครูนำพืชต้นเล็ก ๆ ลำต้นใสๆ เข้ามาในห้อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสอนและให้เราเรียนรู้ถึงกระบวนการดูดน้ำของพืช แต่ในวันนั้นตันพืชใสๆ ผู้เสียสละต้องดูดน้ำหมึกแทนน้ำธรรมดา เพื่อให้นักเวียนทั้งชั้นได้เห็นเส้นทางน้ำหมึกค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปตามลำต้นใสๆ นั้น แต่หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้เจอะเจอผักกะสังบ่อยนัก รู้แต่ว่าเป็นยาหาฝียาแก้อักเสบของหมอยาหลายคน ผักกะสังกลับมาให้คนได้รับรู้อีกครั้งเมื่อไม่กี่บีที่ผ่านมาจากการที่ไปส่งเสริมการปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ที่บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ชุมชนที่นี่มีภูมิปัญญามากมายในการใช้สมุนไพรและการกินผักพื้นบ้าน แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไปและไม่กล้าเก็บผักรอบบ้านหรือตามหัวไร่ปลายนามากินอีกเพราะรู้ว่าเพิ่งฉีดยาฆ่าหญ้าหรือยาฆ่าแมลงไปเมื่อหันมาปลูกวัตถุดิบสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ ผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมางอกงาม พวกเขากล้าเก็บผักพื้นบ้านมากินไม่ต้องเสียเงินซื้อผักจากตลาดอีก “ผักกะสัง” เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น

ผักกะสังมีรสเผ็ดหอม มีสรรพคุณทางหยาง (จัดแบ่งง่ายๆ ว่า หยินคือเย็น หยางคือร้อน) เรื่องรสยาเผ็ดหอมนี้ยังพออธิบายได้อีกมุมมองหนึ่งว่า ผักกะสังกับพริกไทยนั้นเป็นพี่น้องกัน มีคนลองนำเอาผักกะสังมาขยายใหญ่ให้เท่าต้นพริกไทย มองใบสีเขียวใสๆ ให้เป็นสีเขียวเข้ม ก็จะเห็นหน้าตาผักกะสังเหมือนกับต้นพริกไทย นอกจากนี้ถ้าได้กินผักกะสังที่ยังมีเมล็ดเกาะกันเป็นช่อ คล้ายช่อเมล็ดพริกไทยก็จะได้ลิ้มรสเผ็ดนิดๆ ซ่าน้อย ๆ ที่ลิ้น ผักกะสังเป็นผักสมบูรณ์แบบชนิดหนึ่งทั้งรสชาติ รูปร่างหนตาโดยนำมากินสดๆ หรือลวกกินกับน้ำพริก กินเป็นสลัด หรือยำกินก็ได้ หรือนำมาจัดเป็นแจกันผักขนาดเล็กเป็นผักแกล้มบนโต๊ะกินข้าวก็น่าชมไม่น้อย

ผักกะสังถือว่าเป็นผักต้นมะเร็งชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่าผักกะสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมีวิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้อง ๆ มะนาว คือมะนาว 100 กรัม มีวิตามินซี 20 มิลลิกรัม ส่วนผักกะสังมีอยู่ 18มิลลิกรัม รวมทั้งทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่าง ๆ พบว่าผักกะสัง 1 ขีด หรือ 00 กรัม มีเบต้าแคโรทีน ราว 285 ไมโครกรัมเทียบหน่วย เรตินัล การที่ผักกะสังมีธาตุอาหารต้านมะเร็งอยู่สูงขนาดนี้ ผักกะสังจึงจัดว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง

               “ยำผักกะสัง” โด่งดังขึ้นจากการที่หมู่บ้านดงบังต้องการให้คนเข้าไปชมวิถีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ จึงได้พัฒนาตนเองเพื่อเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว ได้มีการค้นหาเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน สิ่งที่พวกเขาเชี่ยวชาญนอกจากการปลูกตันไม้แล้ว แม่บ้านของชุมชนนี้ทำอาหารอร่อยมาก เช่นแกงบอน แกงปลาดุกใส่ไพลดำ ยำผักกะสังและตำรับอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย แต่เมื่อเบิดตลาดออกไปอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือยำผักกะสัง มีสื่อมวลชนมากมายไปซิมและนำ สูตรมาเผยแพร่ ปัจจุบันสูตร “ยำผักกะสัง” ของหมู่บ้านดงบังเป็นที่รู้จักกันดี ไม่มีการจดสิทธิบัตร ใครจะเชื่อว่าผักกะสังเป็นพีชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ แต่ได้นำมาปลูกในประเทศที่มีอากาศร้อนทั่ว ๆ ไปรวมทั้งประเทศไทย แต่เราลืมมันไปจากกลไกผักตลาดที่ผลิตแบบเคมี ต้องขอบคุณชาวบ้านดงบังที่ทำให้ผักกะสัง กลับมาสู่สังคม

ผักกะสัง รักษาโรคลักปิดลักเปิด

               ในตำรายาไทยระบุไว้ว่าใบของผักกะสังใช้ในการรักษาไรคลักปิดลักเปิด ซึ่งพอจะอธิบายได้ว่าในผักกระสังมีวิตามินชีและสรอาหารสูง ซึ่งการรักษานั้นใช้ทั้งการกินและการบดตันแปะบริเวณที่เลือดออกตามไรฟัน

ผักกะสัง รักษา เริม ฝี มะเร็งเต้านม

               หมอยาพื้นเมืองของไทยใช้ผักกะสังเป็นยาไม่มากนัก ส่วนใหญ่ใช้พอกฝีและสิวโดยใช้ต้นสดตำพอกฝี หรือใช้น้ำคั้นทาสิว ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ใช้ทั้งต้นสุดบดประคบฝีหรือตุ่มหนอง และโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่นกัน ซึ่งจากการศึกษาสมัยใหม่พบว่าผักกะสังมีฤทธิ์ตันการอักเสบและต้านแบคทีเรียหลายชนิด ทั้งยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งจะช่วยกำจัดเนื้อตายทำให้ผีแตกได้ง่าย และสิวยุบเร็วขึ้น”ผักกะสังรักษาเริ่มและมะเร็งเต้านม” ความรู้นี้ไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่แมะ (มือลอ มะแซ) ที่บ้านกำปงบือแนตำบลจะกวีะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาบอกว่าผักกะสังเป็นยารักษาเริม มะเร็งเต้านมและผี ในการรักษาเริมนั้นจะนำต้นผักกะสังผสมกับขมิ้นและข้าวสาร (ฮูยงงูกุมาตอกูยิ)คำให้ละเอียดแล้วพอกทิ้งไว้ คืน และนำใบมาตำขยำแปะหาเม็ดที่เป็นใต้ราวนม แก้มะเร็งเต้านม ข้อมูลที่ว่าผักกะสังใช้รักษามะเร็งนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลยและเป็นที่น่าทึ่งตรงที่ว่ามีรายงานการศึกษาพบว่าสารในผักกะสังมีฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วย นอกเหนือไปจากการแก้อักเสบและแก้ปวด

ผักกะสัง…แก้อักเสบ ข้ออักเสบ เก๊าท์

               หมอยาพื้นบ้านบางคนบอกว่ากินผักกะสังแก้ปวดข้อซึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ มีการกินผักกะสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊ท์และข้ออักเสบ โดยนำผักกะลังต้นยาวสัก 20 เซนติเมตร ต้มกับน้ำ 2 แก้ว ให้เหลือประมาณ 1 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น ปัจจุบันผักกะสังเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาวิจัยเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรวมทั้งโรคเก๊ท์จากการที่ผักกะลังสามารถลด  ปริมาณกรดยูริคในกระแสเลือด

ผักกะสัง…บำรุงผิว บำรุงผม

               ผักกระสังยังเป็นสมุนไพรสำหรับผู้หญิงอีกชนิดหนึ่งนอกจากใช้รักษาสิวแล้ว สาวๆ สมัยก่อนยังใช้น้ำต้มผักกะสังล้างหน้าบ่อย ๆ จะทำให้ผิวหน้าสดใส และนอกจากนี้คุณสารีป๊ะ อาแวกือจิ ที่บ้านกำปงบือแน ตำบลจะกวัะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา บอกว่าผักกะสังเป็นยาสระผมทำให้ผมนุ่มโดยนำใบขยำกับน้ำชโลมศีรษะให้ศีรษะเย็นป้องกันผมร่วง ทำให้ผมนุ่ม ซึ่งอธิบายได้ว่าผักกะสังมีธาตุอาหารมีความเป็นกรดอ่อนๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อราและแบคที่เรีย

 

ตัวย่างตำรับยา

ใช้เป็นยาแก้ไข้ นำรากแห้งปลาไหลเผื่อกมาหั่น เป็นขึ้นเล็ก ๆ  กำมือต้มน้ำดื่ม ก่อนอาหาร เช้า-เย็น

ฝีหรือแผลพุพอง  นำรากปลาไหลเผือก ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้ฝี แผลพุพอง

แผลเรื้อรังปวดท้องอย่างรุนแรง(กระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน)  ใช้รากปลาไหลเผือกต้มกิน หรือฝนกับน้ำปูนใส กินก็ได้

ผู้ป่วยโรคเอดส์ มักติดเชื้อได้ง่าย เป็นไข้บ่อย ๆ อาจใช้รากปลาไหลเผือก ต้มกิน ส่วนฝี หรือแผลพุพองใช้รากฝนกับน้ำปูนใสทา

บำรุงร่างกาย แก้ปวดเมื่อย  ใช้รากและแก่น 1 กำมือ ต้มกินหรือชงเป็นชารับประทาน

การใช้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์  มีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของผงรากปลาไหลเผือกบรรจุแคปซูลในขนาด 400 มิลลิกรัมเพื่อใช้เป็นอาหารเสริม ในการบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งแนะนำให้กินตอนเช้าก่อนอาหารในการใช้ระยะยาวให้กิน 2 วันหยุด 2 วัน หรือวันเว้นวันหรือทุก 3 วัน ซึ่งประสิทธิภาพขึ้นกับอายุ กลไกของร่างกายบางคนอาจใช้ขนาดที่ต่ำกว่า ซึ่งผู้ผลิตมักจะแนะนำให้ใช้ในขนาดที่ต่ำ ๆ ก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง

ข้อควรระวังในการใช้

  • มีการศึกษาถึงพิษเฉียบพลัน โดยกองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไม่พบความเป็นพิษ
  • หมอยาพื้นบ้านรู้ว่าสมุนไพรชนิดนี้เป็นสมุนไพรที่มีพิษเบื่อเมาด้วย ดังนั้นจึงต้องระวังในการใช้เป็นยารับประทาน สำหรับบางคนเมื่อรับประทานอาจจะมีอาการปวดเมื่อย วิงเวียน หรือมีไข้อ่อนๆ แก้ไขโดยการหยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะๆ จนกว่าอาการจะหายไปทางที่ดีควรเริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อนแล้วค่อย ๆเพิ่มปริมาณตามคำแนะนำไม่ควรดองเหล้าแม้ว่าจะมีหลายพื้นที่ใช้ดองเหล้ารับประทานเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังเพราะมีสารอัลคาลอยด์ที่ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ที่เป็นพิษอยู่
  • ในการใช้เป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศไม่ควรรับประทานผงยาเกิน 1 กรัมต่อวันและไม่ใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 เดือน ซึ่งควรใช้และหยุด ในระยะเวลาเท่าๆ กัน
  • การใช้ในปริมาณสูงและติดต่อกันนานอาจเกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจนคือทำให้ต่อมลูกหมากไตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ

ข้อมูลอ้างอิง       สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556). เรื่องของผักกะสังผักอินทรีย์ ผักกะสังรักษาโรคลักปิดลักเปิด

ผักกะสังรักษาเริมฝีมะเร็งเต้านม ผักกะสังแก้อักเสบข้ออักเสบเก๊าท์ ผักกะสังบำรุงผิวบำรุงผมตัวย่างตำรับยา. ใน สุภาภรณ์ ปิติพร (บ.ก.), บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้ายาสมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). (น. 52 -57 ). กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์.

คุณวัชรี ชัยชมภู