ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : หนาด
ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : หนาด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blumea balsamifera (L.) DC.
วงศ์ : –
ชื่อสมุนไพร (ชื่ออื่น ๆ) : หนาดหลวง (เหนือ) ใบหลม พิมเสน (กลาง) หญ้าหลั่ง (ไทยใหญ่) จะบอ (ใต้)
ลักษณะพืช : ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีกิ่งก้านสาขาเยอะ
พื้นที่ที่พบ : ขึ้นตามที่ทั่ว ๆ ไป
การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถปลูกได้หลายภูมิภาค
วิธีการใช้ประโยชน์ : แช่ อาบ อบ สูบ ต้ม เผา
ประโยชน์ทางยา :
- แก้ท้องเฟ้อ
- แก้ท้องอืด
- แก้ปวดหัว
- แก้ริดสีดวงจมูก
- แก้ลมพิษ
- แก้หืด
- แก้วิงเวียน
- ไข้หวัด
- จุกเสียดแน่น
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ช่วยกระตุ้นระบบหายใจ
- ช่วยกระตุ้นระบบประสาท
- ช่วยขับน้ำคาวปลาให้กับแม่
- ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ
- ช่วยบำรุงเลือด
- บรรเทาอาการปวดเมื่อย
- ปวดรูมาติก
- ลดปัญหาผิวพรรณ
- ลดการอักเสบของผิวหนัง
- รักษาอาการผิวหนังอังเสบ
- รักษาอาการไอ
- สระผม ทำให้ผมหอม
หมายเหตุ : –
ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง : –
เรื่องของหนาด สมุนไพรไล่ผีแม่นาค
“หนาด” เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกไว้หนบ้าน เพราะมีความเชื่อว่า หนาดไล่ผีหรือป้องกันผีไม่ให้มาหลอกหลอนได้ ข้อเท็จจริงอย่างไรไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ในวงการวรรณกรรมและตำนานผีแม่นาคพระโขนงกับใบหนาด ทำให้คนไทยจำนวนมากจดจำสรรพคุณของใบหนาด ในเรื่องนี้ได้ดี ซึ่งความเชื่อเรื่องหนาดไล่ผีนี้มิได้มีเฉพาะในแถบภาคกลางอย่างที่รู้กันแต่ในตำนานแม่นาดเท่านั้น พ่อหมอยาเมืองเลยยังบอกว่าหนาดเป็น ไม้ผีหน่าย” หน้าบ้านคนอีสาน คนไทยผวนยังนิยมปลูกหนาดไว้ใช้เพื่อกันผี เอาไปทำน้ำมนต์ ทั้งนำไปประพรมให้วัว ควาย กันผี และปลูกเอาไว้ใช้ทำยาผู้ที่เคยเห็นและได้สัมผัสใบหนาดจะรู้ซึ้งดีเพียงได้ดมแค่ครั้งเดียวก็จะจำกลิ่นใบหนาดไปได้นานแสนนาน เพราะกลิ่นฉุนๆ ของใบหนาดนี่เอง ที่ใคร ๆ ก็ตามกำลังกลัวๆ แหยงๆ หูตาฝ้าฟาง เห็นอะไรไหวๆ นึกว่าเป็นผี กระสือ กระสัง หรือนางไม้ พอได้กลิ่นหอมฉุนของใบหนาด จึงได้สติเห็นอะไรๆ แจ่มแจ้งขึ้นก็เลยไม่ต้องเห็นผีหรือบางทีอาจเป็นกุศโลบายของคนโบราณที่จะให้ช่วยกันปลูกต้นหนาดเอาไว้เพราะหนาดมีสรรพคุณทางยามากมาย
ใบหนาด ยาแช่ ยาอาบ แม่ ลูกหลังคลอด
ใบหนาดมีสรรพคุณยอดนิยมในการใช้เป็นยาคือ การเป็นยาแซ่ ยาอาบให้แม่ ลูกหลังคลอด จะใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกับใบเปล้าใหญ่ก็ได้ ชาวบ้านทุกภาคจะใช้หนาดในสรรพคุณนี้เหมือนๆ กันหมด โดยจะต้มใบหนาดในน้ำให้กับแม่หลังคลอดและทารกตัวน้อย ๆ ได้แซ่ ได้อาบ รวมทั้งให้แม่ลูกอ่อนดื่มกินด้วย ชาวบ้านทั่วไปที่มีความเชื่อว่าผู้หญิงหลังคลอดลูกใหม่ ๆ เลือดจะเสีย การกินน้ำใบหนาดต้มจะช่วยบำรุงเลือดช่วยขับน้ำดาวปลาให้กับแม่ ซึ่งหนาดเป็นยาร้อนจึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทั้งยังมีฤทธิ์แก้อักเสบจึงเหมาะกับแม่หลังคลอด
ใบหนาดยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการช่วยลดการอักเสบของผิวหนังและการที่ใบหนาดมีน้ำมันหอมระเหยจึงช่วยกระตุ้นระบบประสาทและระบบการหายใจ ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ต้มอาบให้แม่และทารกตอนคลอดใหม่ๆ เท่านั้น ใบหนาดยังใช้ต้มอาบ หรือใช้เป็นยาอบ แก้ผดผื่นคัน รักษาอาการผิวหนังอักเสบ ช่วยทำให้ผิวสวย ลดปัญหาเรื่องผิวพรรณ ใช้ตำพอกฝีเพื่อแก้อักเสบ ใช้น้ำคั้นสดๆ ทาแผลสดเพื่อห้ามเลือดได้อีกด้วย
ใบหนาด ยาสูบ แก้หืด แก้ริดสีดวงจมูก
ใบหนาดยังนิยมนำมามวนสูบแก้หืด ซึ่งสรรพคุณนี้ชาวบ้านรู้กันโดยทั่วไป ปัจจุบันชาวบ้านในภาคใต้หลายจังหวัดยังนิยมสูบใบหนาดเพื่อแก้หอบหืด แก้หลอดลมอักเสบการใช้ใบหนาดแก้หืดนั้นอาจใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกันสมุนไพรตัวอื่นก็ได้ เช่น บัวบก ใบเปล้า ใบมะนาว หั่นเป็นเส้นๆตากแดดพอหมาด แล้วมวนสูบกับยาฉุน รักษาริดสีดวงจมูกหรือบดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้ง (ถ้าจะให้ดีใช้ใบตองกล้วยตีบ) สูบรักษาโรคหืด แก้ริดสีดวงจมูก
ใบหนาด ยาแก้อักเสบ ซ้ำ บวม
สรรพคุณที่สำคัญอีกอย่างของใบหนาดคือ แก้อักเสบซึ่งจะใช้ทั้งวิธีต้มเอาน้ำ แช่ อาบ ทำยาอบหรือต้มเอาไอรมและทำเป็นยาประคบ ชาวบ้านบางแห่งก็ใช้ใบหนาดอังไฟให้ร้อนแล้วนำมาห่อตัวบริเวณที่มีการอักเสบ หรือทางใต้จะใช้รองหัว (ก้อนหินผาไฟ) ซึงเชื่อว่าจะช่วยแก้ปวดหลังปวดเอว แก้อักเสบ แก้ฟก บวม บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ และยังมีตำรับยาที่ใช้ใบหนาดนำมาดองกับเหล้า เพื่อเก็บไว้ใช้นาน ๆ สำหรับทาถูแก้ปวด เช่น ปวดข้อรูมาติกส์และแก้คัน แก้ลมพิษได้ด้วย หนาดเป็นสมุนไพรหลักตัวหนึ่งที่นิยมใส่ในตำรับยาอบ และในลูกประคบ
ใบหนาด เครื่องหอม อโรมาเธอราปี่ส์ คลายเครียด
ใบหนาดเป็นเครื่องหอมที่สาวภูไทยใช้เป็นส่วนผสมในยาสระผม โดยสาวภูไทยผมยาวสลวยจะใช้ใบหนาด ใบมะนาว รากแหน่งหอม (ว่านสาวหลง) ต้มกับน้ำข้าวหม่า (น้ำที่แช่ข้าวเหนียวทิ้งคงคืนไว้) แล้วใช้เป็นยาสระผม ทำให้ผมหอมกรุ่น ใบหนาดยังแก้วิงเวียน แก้ปวดหัวได้ดีโดยการตำใบหนาดให้พอละเอียด นอนลงหรือนั่งเอนหลัง แล้วนำมาวางข้างขมับและหน้าผาก ใช้แก้ปวดหัวได้ หรือจะต้มใส่หม้อเอาไอรมเพื่อรักษาอาการวิงเวียนก็ได้ใบหนาดมีน้ำมันหอมระเหยจำพวกการบูรและพิมเสนธรรมชาติอยู่มาก ตั้งแต่ร้อยละ 0.1-1.9 ซึ่งถือว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากที่เดียว ในประเทศจีนมีการปลูกใบหนาดเพื่อสกัดการบูร พิมเสนธรรมชาติจากใบหนาดด้วย
ใบหนาด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นแก้หวัด แก้ไอ
แก้หวัด แก้ไอหนาดเป็นยาร้อนและมีน้ำมันหอมระเหย จึงมีสรรพคุณในการช่วยย่อย แก้ท้องอึดท้องเฟ้อ จุกเสียด ช่วยขับลม แกปวดท้อง แก้หวัด แก้ไอ ทำให้หายใจโล่ง โดยใช้ใบหนาดชงกินหรือต้มกิน หรือเคี้ยวใบสดๆ กินหรือจะเคี้ยวกินกับใบพลูเพื่อแก้จุกเสียดแน่นก็ได้
ตัวอย่างตำรับยา
ตำรับยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้หวัด
แก้ไอวิธีปรุงเป็นยาก็ง่ายแสนง่าย เพียงให้เวลาเท่ากับการต้มน้ำเดือดหนึ่งกาเท่านั้น สัดส่วนตัวยาใช้ใบหนาด 50 กรัม ต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร (ครึ่งลิตรต้มเดือดแล้วนำมากินวันละ 4 แก้ว ใช้แก้ปวดท้องแต่ถ้าใช้รากต้ม หรือใบ 2-4 กำมือต้มกิน จะใช้แก้ไข้ แก้ไอ แก้หวัดได้ ส่วนใครที่มีอาการท้องอืดใช้ใบที่สับๆ แล้ว 2 ซ้อนชาต้มกับน้ำ ถ้วยนาน 5 นาที ดื่มขณะอุ่นเท่านั้นเอง
ตำรับยาประคบ
ใบหนาด ใบชะพลู ไพละพริกไทย ดีปลี การบูรผิวมะกรูด หนักสิ่งละพอควร ตำให้แหลกจนเข้ากันแล้วนำไปห่อ ใช้ประคบตามแข้งขาและตัว บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยให้ผ่อนคลาย
ตำรับยาสมุนไพรอบหลังคลอด (ตำรับของคุณกรกนาฎ บายิ้ม จังหวัดพิษณุโลก)
- 1. ใบหนาด 1 กำมือ
- ว่านน้ำ 1 ขีด (ใช้เหง้าสดหั่นเป็นท่อน)
- ไพล 1 ขีด (ใช้เหง้าสดหั่นเป็นท่อน)
- กะทือ 1 ขีด (ใช้เหง้าสดหั่นเป็นท่อน)
- ข่า 1 ขีด (ใช้เหง้าสดหั่นเป็นท่อน)
- ว่านชักมดลูก 1 ขีด (ใช้เหง้าสดหั่นเป็นท่อน)
- ใบมะขามขาม ½ ขีด
- ตะไคร้้ 3 ต้น
- มะกรูด 3 ผล
ใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้าเจาะฝาหม้อให้เป็นรูนำส่วนผสมทั้งหมดตั้มใส่ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
วิธีอบ ใช้เวลาอบทั้งสิ้นรวม 1 ชั่วโมง ต่อ วันแบ่งออกเป็น 2 รอบรอบแรก (ตอนเช้า) ครึ่งชั่วโมง (เข้าไปอบ 2 รอบ ๆ ละ 15 นาที) รอบสอง (ตอนบ่าย) ครึ่งชั่วโมง (เข้าไปอบ 2 รอบ ๆ ละ 5 นาที)
ข้อมูลอ้างอิง สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556). เรื่องของหนาดสมุนไพรไล่ผีแม่นาค ใบหนาดยาแช่ยาอาบแม่ลูกหลังคลอด ใบหนาดยาสูบแก้หืดแก้ริดสีดวงจมูก ใบหนาดยาแก้อักเสบซ้ำบวม ใบหนาดแก้ท้องอืดท้องเฟ้อจุกเสียดแน่นแก้หวัดแก้ไอ ตัวอย่างตำรับยา. ใน สุภาภรณ์ ปิติพร (บ.ก.), บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้ายาสมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). (น. 100-103 ). กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์.
คุณวัชรี ชัยชมภู