โคกกระออม

ชื่อสมุนไพร (สามัญ) : โคกกระออม

ชื่อสมุนไพร (พื้นเมือง) : หญ้าแมงหวี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cardiospermum halicacabum L.

วงศ์ : Sapindaceae

ชื่อสมุนไพร (ชื่ออื่น ๆ) : ผักแมงหวี่ สะไล่น้ำ    โพออม ลูบลีบเครือ วิวี่ ผักไส่ซ้าง

ลักษณะพืช : เป็นไม้เลื้อย ใบยาวรี   ปลายแหลม ขอบใบหยัก

พื้นที่ที่พบ : ขึ้นตามที่ทั่ว ๆ ไป

การขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด สามารถปลูกได้หลายภูมิภาค

วิธีการใช้ประโยชน์ : ต้ม ตำ บด

ประโยชน์ทางยา :

  • แก้พิษงู
  • แก้อักเสบ
  • ขับปัสสาวะ
  • แผลฝีเป็นหนอง
  • ลดความดัน
  • รักษาไข้
  • รักษารูมาตอยด์
  • รักษาอาการไอ
  • โรคผิวหนัง

หมายเหตุ : ไล่แมลงหวี่

ข้อเสียหรือผลกระทบข้างเคียง :

เรื่องราวของโคกกระออม ผัก ยา สมุนไพรไล่แมลงหวี่

               ประมาณยี่สิบปีที่แล้ว ขณะที่กำลังจะปืนขึ้นเขาสมอปูน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เห็นไม้เลื้อยใบคล้ายใบเมเบิล ลักษณะใบยาวรี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นจักร ผลที่ห้อยต่องแต่งอยู่นั้นน่ารักมาก ลูกกลมๆแกมสามเหลี่ยมพองออกมาเป็นถุงลมสามช่องเมล็ดค้นในเป็นรูปหัวใจ น่าเอาไปมอบให้ใครเสียจริง ๆ ด้วยความประทับใจในความงาม ของเจ้าไม้เลื้อยแสนสวย จึงเอารูปและลักษณะมาสอบถามหมอยาและนำมาพูดคุยกับชาวบ้านที่มาจากสุรินทร์ จึงได้ทราบว่ามันคือ ผักแมงหวี่ หญ้าแมงหวี่ แต่บางท่านก็เรียกเพี้ยนเป็น “หมากวี๊วี” ซึ่งคงจะมาจากฤทธิ์การไล่แมลงหวี่ เพราะถ้าเด็กตาแดงตาแฉะจะมีแมลงหวี่คอยมาตอมตาเขาจะใช้ทั้งเถาทั้งใบ มาพันรอบหัวเด็กเพื่อไล่แมลงหวี่ไม่ให้มาตอมตาเด็ก เชื่อกันว่าแมลงหวี่กลัวสมุนไพรชนิดนี้ พ่อประกาศ ใจทัศน์ เรียกโคกกระออมว่า “สะไล่น้ำ”เพราะชอบขึ้นชายน้ำนั่นเอง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไรทุกคนที่รู้จักใดกกระออมจะรู้ว่าโคกกะออมเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม บำรุงธาตุ ช่วยระบายท้องสามารถรับประทานสดๆก็ได้ หรือจะนำไปเผาไฟเพื่อลดความชมใช้รับประทานได้เช่นกัน

โคกกระออม แก้ไข้ แก้ไอ แก้หอบหืด

               ใบของโคกกระออมมีประโยชน์ทางยาอย่างมาก ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมใช้น้ำคั้นจากใบสดๆ แก้หอบหืด ความรู้ในการใช้ใบโคกกระออมต้มกินแก้ไข้ แก้ไอ แก้หอบหืดนี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนทุกบ้านสมัยก่อนรู้กันโดยทั่วไป เป็นเรื่องปกติเหมือนกับที่คนไทยรู้ว่าข้าวกินเป็นอาหารได้อย่างไรอย่างนั้น ปัจจุบันการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าโคกกระออมมีฤทธิ์ในการยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบซึ่งเป็นการสนับสนุนการใช้ใบโคกกระออมแก้หอบหืดของชาวบ้าน

โคกกระออม ยาขับปัสสาวะช่วยลดความดันโลหิต

               ชาวบ้านยังนิยมใช้โคกกระออมทั้งห้า ต้มกินต่างน้ำ เพื่อขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ช่วยลดความดันและยังนิยมต้มให้คนแก่ที่มีอาการต่อมลูกหมากโตกินต่างน้ำซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดของโคกกระออมสามารถลดความดันโลหิตได้

โคกกระออม แก้อักเสบ แก้รูมาตอยด์

               โคกกระออมเป็นสมไพรชนิดหนึ่งที่หมอยาในสมัยก่อนใช้ใบโคกกระออมตำคั้นน้ำ เคี่ยวกับน้ำมันงาทา เช้า-เย็นอย่างต่อเนื่องประมาณ 7 วัน อาการมาตอยด์จะค่อยๆ ดีขึ้น แล้วให้ทาติดต่อกันไปเรื่อย ๆ นอกจาก  รูมาตอยด์แล้ว โดกกระออมยังใช้รักษาอาการอักเสบ บวม ตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายโดยใช้ใบใดกกระออมตำกับเกลือทาบริเวณที่บวมนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าโคกกระออมมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

โคกกระออม รักษารังแค แผล โรคผิวหนัง

               ใบโคกกระออมยังใช้เป็นยาใส่แผลชั้นยอดโดยใช้น้ำต้มข้นๆ ล้งแผลหรือเมื่อเวลาเป็นฝีมีหนองจะใช้ใบ ตำพอก ส่วนรากของโคกกระออมในสมัยที่ซุกชุมและไม่มีเซรุ่มแก้พิษงูนั้นขาจะใช้รากของต้นใดกกระออมตำคั้นเอาน้ำมากิน ส่วนกากจะใช้พอกที่ปากแผลนอกจากนี้ใครที่มีรังแคเขาจะทุบเถาของโคกกระออมคั้นแซ่น้ำพอขันๆ แล้วนำมาชโลมศีรษะทิ้งไว้สักครู่แล้วล้างออกเพื่อกำจัดรังแค

ตัวอย่างตำรับยา

ตำรับยารักษารูมาตอยด์ อักเสบ ปวด บวม เคี่ยวหรือบดใบโคกกระออม 2 ถ้วย กับน้ำมันงา 1 ถ้วย ทาแก้รูมาตอยด์ ลดการอักเสบ ปวด บวมและบรรเทาอาการปวดเมื่อย ซึ่งอาจใช้การทาถูนวดอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับการรับประทานยาต้มโดยต้มใบโคกกระออม 1 กำมือกับน้ำ 3 แก้วเคี่ยวให้เหลือ 1 แก้วรับประทานครั้งละ 1/2 แก้ววันละ 3 เวลา

ตำรับยาอดเหล้า(ตำรับของคุณพานี นิ่มนุ่ม) นำไข่เป็ด 1 ฟอง โคกกระออม 1 กำมือใส่น้ำพอท่วม ต้มจนไข่สุก กินไข่กับน้ำที่ต้มยานั้น

ข้อมูลอ้างอิง : สุภาภรณ์ ปิติพร. (2556).  เรื่องราวของโคกกระออมผักยาสมุนไพรไล่แมลงหวี่ โคกกระออมแก้ไข้แก้ไอแก้หอบหืด โคกกระออมยาขับปัสสาวะช่วยลดความดันโลหิต โคกกระออมแก้อักเสบ แก้รูมาตอยด์ โคกกระออมรักษารังแคแผลโรคผิวหนัง ตัวอย่างตำรับยา. ใน สุภาภรณ์ ปิติพร (บ.ก.), บันทึกของแผ่นดิน ๑ หญ้ายาสมุนไพรใกล้ตัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). (น. 30-33 ) กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์.

คุณวัชรี ชัยชมภู